สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ประวัติหมู่บ้าน

                                                                                                 ประวัติบ้านแตล  หมู่ที่ 1

 

                บ้านแตลเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น  และมีอายุของการตั้งหมู่บ้านนานพร้อมๆกับชาวสุรินทร์ทั่วไปที่เป็น  กูย  พื้นเพดั้งเดิมตามประวัติของจังหวัดสุรินทร์ว่าอพยพมาจากแขวงอัตตปือแสนแป  แคว้นจำปาศักดิ์และแคว้นสาละวิน  ตั้งอยู่ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนลาว  เข้ามาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่สมัยพระนารายมหาราช  ราว  พ.ศ.2199-2231  และอพยพตามกันมาเรื่อยๆผ่านจังหวัดอุบลราชธานี  ทางอำเภอโขงเจียม  อำเภอวารินชำราบ  อำเภอเดชอุดม  อำเภอจะหลวย  อำเภอน้ำยืน  จังหวัดศรีสะเกษ  อำเภออุทุมพรพิสัย  อำเภอกันทรารมย์  อำเภอปรางค์กู่  อำเภอไพรบึง  อำเภอขุขันธ์  อำเภอขุนหาญ  อำเภอกันทรารักษ์ผ่านจังหวัดสุรินทร์  กระจายอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์  ชาวบ้านแตลคงมาพร้อมๆกับชาวสุรินทร์ทั่วๆไป  และมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านแตลประมาณปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีความเกี่ยวเนื่องสมัยต้นๆกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.2303-2310  การอพยพไม่ได้ลงมาในคราวเดียวกัน  คงอพยพตามกันมา  จากเริ่มแรก  3  หลังคาเรือน  จนกลายเป็นชุมชนใหญ่และอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอท่าตูม  ต่อมาปี  2485  ได้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศีขรภูมิ

                ผู้นำของบ้านแตลตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน  ดังนี้

1.  ท่านขุนสิทธิ์  (คง)                        ผู้ก่อตั้งบ้านแตล

2.  ท่านขุนวิเศษ  (สอน)

3.  ผู้ใหญ่นุน  เจือจันทร์

4.  ผู้ใหญ่พา  เจือจันทร์

5.  กำนันหงส์   พิมพ์จันทร์             กำนันคนแรกของตำบลแตล

6.  กำนันเมี่ยน  ทองแม้น

7.  กำนันดัด  คงนาค

8.  กำนันแล  ภาผิวดี

9.  ผู้ใหญ่เงิน  ทองแม้น

10.  ผู้ใหญ่วินัย  หนุนชู

11.  ผู้ใหญ่หนู  คงนาค

12.  ผู้ใหญ่ทิพย์  สมสุระ

13.  ผู้ใหญ่ทวี  พิมพ์จันทร์

14.  ผู้ใหญ่สมศรี  เจือจันทร์

15.  กำนันกำพล  เจือจันทร์             อดีตกำนัน

16.  นายสุขสันต์    ทองศรี

17.  นายสุพรรณ   พรหมขันธ์

18 นายบุญส่ง   พิมพ์จันทร์

สภาพภูมิศาสตร์

 

                1.  ที่ตั้ง  ตั้งอยู่ริมถนนลาดยางอำเภอศีขรภูมิ  เชื่อมอำเภอจอมพระ  ทางหลวงหมายเลข  2334  ห่างจากอำเภอศีขรภูมิประมาณ  12  กิลเมตร  ห่างจากอำเภอจอมพระประมาณ  20  กิโลเมตร  บนที่ราบสูงภาคอีสาน

                2.  ภูมิประเทศ  มีลักษณะเป็นเนินสูงมีคูคลองล้อมรอบ  มีกำแพง  2  ชั้นมีประตูเมืองด้านทิศใต้  ด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ คูคลองและกำแพงเมืองถูกทำลายเกือบหมดมีร่องรอยสังเกตให้เห็นพอสันนิษฐานได้  ด้านทิศเหนือมีลำห้วยไหลผ่านลงสู่ห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ  ร่องรอยแห่งอริยธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี  เคยรุ่งเรืองสมัยขอมเรืองอำนาจ  หรือก่อนนั้นเพราะมีศิลปวัตถุและซากวัสดุเก่าแก่ขุดพบโยอยู่ทั่วไปลึกประมาณ  500  เมตร  รวมทั้งซากศพด้วย

                3.  พลเมืองชุมชนบ้านแตล  เป็นกูย  หรือชาวกูย  มีภาษาตระกูลเดียวกับมอญ  พวกโซและเขมร  คำว่ากูย  ตามความหมายของภาษาที่แปลว่า  คน  อีกนัยหนึ่งก็หมายถึง  ชนชาติกลุ่มย่อยชนชาติหนึ่ง  ที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเองที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรไทย  กูยมีภาษาพูดเพี้ยนกันไปบ้าง  เป็นพวกใหญ่ๆได้  2  พวก  คือ  กุย-กุย  กับ  กุย-กวย  เหมือนลาวไทย  กับลาวเหนือ  ลาวเวียง  เขมรสูง  เขมรต่ำ  ซึ่งมีภาษาที่ผิดเพี้ยนกันไปบ้าง  แต่ก็ฟังรู้เรื่องเหมือนไทยกรุง  ไทยสุพรรณเป็นต้น  ส่วนคำที่ว่าส่วยพึ่งมีใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เองซึ่งมาจากการส่งส่วยนี้เอง

                4.  จำนวนประชากร          

                                บ้าน                  จำนวน                   239         หลัง

                                ประชากรชาย       จำนวน                   426         คน

                                ประชากรหญิง     จำนวน                   439        คน

                                รวมประชากรทั้งหมด                        865     คน

 

กลุ่มสตรีเย็บเสื้อผ้า

 

                กลุ่มพัฒนาสตรีเย็บเสื้อผ้าได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  2539  มีสมาชิก  11  คน  ได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย  มีคณะกรรมการและสมาชิก  ดังนี้

                1.  นายสุฑา  เจือจันทร์                     ประธานกลุ่ม

                2.  นางสมบูรณ์  ศรีวิเศษ                  รองประธานกลุ่ม

                3.  นางสุภาณี  เจือจันทร์                  เลขานุการ

4.   นางคำไส  พิมพ์จันทร์               เหรัญญิก

                5.  นางสุฑา  เจือจันทร์                     ประชาสัมพันธ์

                6.  นางบุญเลี้ยง  สมหวัง                  สมาชิก

                7.  นางทิพย์  เจือจันทร์                     สมาชิก

                8.  นางอุทัย  พิมพ์จันทร์                   สมาชิก

                9.  นางบัวไข  พรหมทา                    สมาชิก

10.  นางส่องแสง  จันโท                  สมาชิก

11.  นางอรสา  เจือจันทร์                  สมาชิก

 

                ระยะเวลาดำเนินการตัดเย็บจะเป็นช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว  และทำให้สมาชิกสตรีแม่บ้านมีรายไดเพิ่ม  ไม่ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น  การตัดเย็บเป็นงานเหมาสงโรงงาน  ส.รุ่งเรือง  อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี  ซึ่งเป็นการเหมารายตัว  แม่บ้านจะมีรายไดเพิ่มเฉลี่ยประมาณ  2,000-2,500  บาท/คน/เดือน

 

กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าไหม

                สตรีแม่ม่บ้านได้ดำเนินการทอผ้าไหมมาตั้งแต่บรรพบุรุษเพราะในหมู่บ้านมีการทอผ้ากันเป็นประจำ  หลังฤดูการเก็บเกี่ยวซึ่งถือว่าเป็นอาชีพรองของสตรีในหมู่บ้านและได้รวมกลุ่มสตรีทอผ้าไหมเมื่อปี  2539  มีสมาชิกครั้งแรก  25  คน  ได้รับงบประมาณการพัฒนาชุชน  เป็นเงิน  25,866  บาท  มีสมาชิก  34  คน  ดังนี้

                1.  นางบัวไข  เจือจันทร์                    ประธานกลุ่ม

                2.  นางสังวาล  พรหมบุตร               รองประธานกลุ่ม

                3.  นางสุภาณี  เจือจันทร์                  เลขานุการ

4.  นางจันทา  ทรัพย์ครองชัย          เหรัญญิก

                5.  นางบุญมร  พรหมขันธ์               ประชาสัมพันธ์

6.  นางปทุม  พิมพ์จันทร์                  สมาชิก

7.  นางทองนาค  จันโท                    สมาชิก

8.  นางบัวไข  พรหมทา                    สมาชิก

9.  นางลัง  เจือจันทร์                         สมาชิก

10.  นางพุด  คงนาค                          สมาชิก

11.  นางพิมพ์สอน  ชมเชย              สมาชิก

12.  นายอุ่นใจ  วงเวียน                     สมาชิก

13.  นางแก้วมณี  เจือจันทร์             สมาชิก

14.  นายสุขวัติ  พิมพ์จันทร์              สมาชิก

15.  นายวิจิตร  พิมพ์จันทร์               สมาชิก

16.  นางคำพันธ์  คงนาค                  สมาชิก

17.  นายทองนาค  เจือจันทร์            สมาชิก

18.  นางบังอร  พิมพ์จันทร์              สมาชิก

19.  นางบุญเลี้ยง  สมหวัง               สมาชิก

                มีกองทุนหมุนเวียนภายในกลุ่มสตรีทอผ้าไหมขณะนี้เป็นจำนวน  30,000  บาท  กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมีรายได้เฉลี่ย  2,400  บาท/คน/เดือน 


ผลการดำเนินงาน

                สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมทอผ้าได้จำนวน  1,700  ผืน  ซึ่งแบ่งเป็นผ้ามัดหมี่  ผ้าสีพื้น  ผ้าโสร่ง  ผ้าขาวม้า  ผ้าตีนจก  เป็นต้น

 

                แผนการดำเนินงาน

ขยายผลรับสมาชิกเพิ่มเติมให้สมาชิกกู้เงินกองทุนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  2  บาทต่อเดือน

กลุ่มร้านค้าชุมชนบ้านแตล

 

                ร้านค้าชุมชนบ้านแตลได้ดำเนินการจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2531  โดยได้รับความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวบ้านแตล  โดนเริ่มระดมทุนจากการขายหุ้น  หุ้นละ  30  บาท  โดนกำหนดว่าแต่ละคนจะต้องซื้อหุ้นไม่ต่ำกว่าคนละ  10  หุ้นขึ้นไป  มีชาวบ้านให้ความสนใจในการดำเนินการครั้งแรกเป็นจำนวน  215  คน และได้นำเงินที่ขายหุ้นไปทำการก่อสร้างอาคารร้านค้าและซื้อสินค้ามาดำเนินการภายในร้าน

                กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ให้งบสนับสนุนเป็นเงิน  20,000  บาท  ใช้ในการหมุนเวียนภายในกิจการร้านค้าชุมชน  มีทุนหมุนเวียนแต่ละเดือน  100,000  บาท  ต่อเดือน  โดยมีคณะกรรมการ  ดังนี้

                1.  นายกำพล  เจือจันทร์                   ประธานกลุ่ม

                2.  นายราวี  จันโท                              รองประธานกลุ่ม

                3.  นายมงคลชัย  เพิ่มสุข                  เลขานุการกลุ่ม

                4.  นายสมเกียรติ  คงนาค                 ผู้จัดการร้านค้า

                5.  ด.ต.สมศักดิ์  แตงอยู่                    ประชาสัมพันธ์

                6.  นายมงคล  ขาวงาม                      เหรัญญิก

 

                ทำเนียบผู้จัดการ้านค้าชุมชนบ้านแตล

                1.  นายดุสิต  โองอินทร์                    2530-2532

                2.  นายสุชาติ  ทองนำ                       2532-2534

                3.  นายสมเกียรติ  คงนาค                 2534-2537

                4.  นายราวี  จันโท                              2537-2540

                5.  นายสมเกียรติ  คงนาค                 2540-2542

                6.  นายสมชาติ  สิงหล                      2542-2543

                7.  นายวิทยา  เจือจันทร์                    2543-2545

                8.  นายกำพล  เจือจันทร์                   2554-ปัจจุบัน

 

                การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี

                1.  เป็นทุนสำรองสำหรับซื้อสินค้าเข้าร้านในปีถัดไป  ร้อยละ  10  ของกำไรสุทธิ

                2.  เป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน  ร้อยละ  5  ของกำไรสุทธิ

                3.  เป็นเงินเฉลี่ยปันผลคืนไม่เกิน  ร้อยละ  13  ของกำไรสุทธิ

                4.  เป็นเงินสะสมของร้านปีละ  15,000  บาท

                5.  เป็นเงินตอบแทนคณะกรรมการและพนักงานขาย  ร้อยละ  1  ของกำไรสุทธิ

ปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่ในบัญชีประมาณ  4,000  บาท  และยังได้ให้สมาชิกกู้ยืมอีกประมาณ  60,000  บาท  ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  2  บาท/เดือน

 


 

ประวัติบ้านซาด  หมู่ที่ 2

 

                บ้านซาดเริ่มตั้งหมู่บ้านเมื่อปี  พ.ศ.2462  สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านซาด  เพราะเมื่อโบราณสถานที่นี้มีต้นซาดใหญ่เป็นจำนวนมากมาย  ตาเสาร์  ตาละ  ตาบุญขำ  และตาบันเป็นผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านซาด  ซึ่งย้ายถิ่นฐานออกมาจากบ้านแตลประมาณ  2,000  เมตร  ส่วนตาปันแยกไปบุกเบิกหมู่บ้านที่อยู่ห่างกันอีกประมาร  1,500  เมตร  และตั้งหมู่บ้านนั้นว่า  บ้านหนองบัวน้อย  ดังนั้นบ้านซาดจึงมี  2  หมู่บ้านรวมเข้าด้วยกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  ผู้ใหญ่บ้านซาดคนแรกคือ  นายคง  พิมพ์จันทร์

                                                                2.  นายสุวรรณ  ศรีวิเศษ

                                                                3.  นายทอง  เจือจันทร์

                                                                4.  นายคำ  ประดับศรี

                                                                5.  นายสาลี  สมหวัง

                                                                6.  นายเดช  พิมพ์จันทร์ 

                                                               7.   นายสว่าง    เงางาม 

                                                               8. นายรัฐภูมิ   สมหวัง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

                บ้านซาดมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด  875  ไร่ 

ที่อยู่อาศัย                              35           ไร่ 

ครัวเรือนทั้งหมด                 79           ครัวเรือน

มีประชากรรวม                   245         คน

                ชาย                             178         คน

                หญิง                            167        คน

                พื้นที่ของบ้านซาดเป็นดินเหนียวปนทรายเหมาะสำหรับทำการเกษตร  เช่น  การทำนา  ปลูกพืช 

ทิศเหนือจดบ้านอาแวะ  ตำบลบุแกรง  อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์

                ทิศใต้จดบ้านแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

                ทิศตะวันออกจดบ้านหนองท่ม  บ้านกระโพธิ์  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

                ทิศตะวันตกจดบ้านประทุน  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

บ้านซาดมีแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์  2  แห่ง  คือ  หนองซาดและหนองบัวน้อย  บ่อน้ำตื้น  2  แห่ง 

ประปา  1  แห่ง  บ่อน้ำบาดาล  2  แห่ง  ใช้ได้  1  แห่ง  ประชากรมรอาชีพ  ทำนา  อาชีพเสริมคือ  การเลี้ยงสัตว์  ปลูกหม่อนเลี่ยงไหม  ทอผ้า

 

กลุ่มกองทุนภายในหมู่บ้านซาด  4  กลุ่ม  ดังนี้

                1.  กลุ่มออมทรัพย์  ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  ตุลาคม  2541  มีสมาชิก  40  คน

                2.  กลุ่มโค  กระบือ  ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2536  มีสมาชิกรวม  25  คน

                3.  กลุ่มสหกรณ์ข้าวเปลือก  ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2543  มีสมาชิก  52  คน

4.  กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม  มีสมาชิก  33 คน

 


 

บ้านหนองท่ม  หมู่ที่ 3

 

                บ้านหนองท่มอยู่ห่างจากบ้านแตลเป็นระยะทาง  3,000  เมตร  ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม  ทิศเหนือติดกับตำบลบุแกรง  ทิศตะวันออกติดกับตำบลหนองบัว  ทิศใต้ติดกับบ้านซาด

                จำนวนประชากรทั้งหมด                  690         คน    ชาย  343  หญิง 347  ราย

                ครัวเรือน                                               159        ครัวเรือน

 

บุคลสำคัญบ้านหนองท่ม

 

                ตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  ดังนี้

1.  นายเมือง  วงเวียน

2.  นายแก้ว  วงเวียน

3.  นายลัด  วงเวียน

4.  นายคำ  วงเวียน

5.  นายทอง  ดาศรี

6.  นายยา  วงเวียน

7.  นายบุญชู  วงเวียน        ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2493 - 2524

8.  นายพรหม  วงเวียน     ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2524 - 2538

9.  นายสง่า  วงเวียน          ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2538 - 2548

10. นายปัด    วงเวียน

11. นายทองล้วน    วงเวียน  

12. นายทองหล่อ  วงเวียน คนปัจจุบัน

       

                ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ชาวบ้านหนองท่มเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณมีการสืบทอดจนถึงลูกหลาน  เช่น  การเลี้ยงไหม  การทอผ้า  การจักสาน  ลอบ  ไซ  กระด้ง  สุ่ม  ซึ่งยึดหลักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งชนรุ่นหลังก็ให้ความสนใจเพื่อที่จะสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้เปและเป็นที่ยอมรับของชุมชน

                ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองท่มที่กล่าวมาช้างต้นเป็นการเสริมรายได้ให้กับประชาชนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                การประกอบอาชีพ

                ประชาชนในบ้านหนองท่มส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน  การทำนาส่วนใหญ่ยังยึดหลักการแบบดังเดิมโดยการทำนาแบบปักดำ  โดยอาศัยธรรมชาติซึ่งจะทำในช่วงฤดูฝน  คือนาปี  แต่ในปัจจุบันจะมีการทำนาแบบหว่าน

                หลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้วประชาชนบางส่วนก็ไปรับจ้างตามจังหวัดใหญ่ๆแต่มีส่วนน้อยที่ยึดอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน  เช่น  การเลี้ยงไหม  การทอผ้า  การจักรสาน  ซึ่งผลผลิตเหล่านี้บางส่วนก็จะนำไปจำหน่ายโดยฝากญาติที่ไปทำงานในต่างจังหวัด  ซึ่งก็เป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาจุนเจือครอบครัว

 

กองทุนธุรกิจชุมชน

 

กองทุนที่ได้รับจากส่วนราชการ

1.  กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน  (กขคจ)  ได้รับงบประมาณเมื่อปี  พ.ศ.2536  เป็นจำนวนเงิน  280,000  บาท  (สองแสนแปดหมื่นบาท)

                การบริหารกองทุน  โดยให้สมาชิกในหมู่บ้านได้กู้ยืมไปโดยไม่มีดอกเบี้ยและชำระเป็นงวดๆ

2.  กองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง  ได้รับงบประมาณปี  พ.ศ.2544  เป็นจำนวนเงิน 

1,000,000  บาท  มีสมาชิกทั้งหมด  101  คน  ซึ่งสมัคเข้าเป็นสมาชิก  โดยให้สมาชิกกูยืมโดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  5  บาท

  3.  กองทุนกลุ่มออมทรัพย์  จัดตั้งขึ้นโดยการร่วมมือของชุมชนโดยยึดหลักการเป็นสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านและชมชนเมืองเป็นหลัก  สมาชิกได้บริจาคเงินทุกเดือนเดือนละ  20  บาท

 

            สมาชิก  อ.ส.ม.  มีดังนี้

                1.  นายสิทธิ์  วงเวียน                       ประธาน

                2.  นายปัด  วงเวียน                         รองประธาน

                3.  นางเสาวณี  วงเวียน                    สมาชิก

                4.  นายทองหล่อ  วงเวียน                 สมาชิก

                5.  นางสุพิณ  วงเวียน                      สมาชิก

                6.  นายตัน  วงเวียน                          สมาชิก

                7.  นายสายยัน  สามเพียรยม             สมาชิก

                8.  นางมา  ชัยพันโท                         สมาชิก

                9.  นางพัน  วงเวียน                          สมาชิก

                10.  นางคำแท้  เจือจันทร์                  สมาชิก

                11.  นางบุญศรี  สายวิเศษ                สมาชิก

                ภาษาแลวรรณกรรม

                ภาษา

                ในหมู่บ้านหนองท่มใช้ภาษาส่วยหรือภาษากูยมาตั้งต่โบราณและมีการถ่ายทอดโดยการบอกกันแบบปากต่อปาก  ไม่มีการเขียนไว้เป็นลายอักษร  คนรุ่นหลังก็จดจำมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งยังคงใช้ภาษาส่วยในการสื่อสารกันภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

 

                วรรณกรรม

                ภายในหมู่บ้านหนองท่มจะมีการเล่นกลองยาว  มีจุดประสงค์เพื่อหารายได้เสริมจากการทำนา

 

                ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี

                ความเชื่อ

                ในหมู่บ้านจะมีความเชื่อในเรื่องภูตผีปิศาจ  วิญญาณบรรพบุรุษหรือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว  ซึ่งเชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่และสามารถคุ้มครองให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่มีความสุข  ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน  ช่วยให้ครอบครัวนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองในการทำงาน  ดังนั้นจึงมีการไหว้  เคารพบรรพบุรุษทุกๆเทศกาล

 

                ประเพณี

                ประเพณีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านหนองท่มมาก  ซึ่งเป็นมรดกตกทอดที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  เช่น  การสร้างบ้านเรือน  หรือการขึ้นบ้านใหม่  ก่อนที่จะสร้างบ้านทุกๆครั้งก็จะต้องบอกกล่าวพระภูมิเจ้าที่  หรือผู้ที่ดูแลรักษาพื้นที่บริเวณนั้นให้รับรู้ก่อน  การขึ้นบ้านใหม่จะมีการเรียกขวัญเจ้าของบ้าน  บางบ้านจะนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นศิริมงคลให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น

                ประเพณีสำคัญที่ชาวบ้านสืบทอดปฏิบัติตามกันมา

                1.  งานบวช

                2.  งานแต่ง

                3.  ขึ้นบ้านใหม่

                4.  สงกรานต์

                5.  ลอยกระทง

                6.  เข้าพรรษา-ออกพรรษา

 

รายชื่อสมาชิกร้านสหกรณ์บ้านหนองท่มน้อย

1.  นายสายยัน  สามพร้าว                 ประธาน

2.  นายตัน  วงเวียน                           รองประธาน

3.  นายเกตุ  วงเวียน                           กรรมการ

4.  นายไมล์  วงเวียน                         เลขา

5.  นายมงคล  ชิ้นพัก                        กรรมการ

6.  นายสมจิตร  ทองดียิ่ง                   กรรมการ

7.  นายโพธิ์  วงเวียน                         กรรมการ

8.  นายอ้อม  พิมพ์จันทร์                  กรรมการ

 

รายชื่อสมาชิกศูนย์สาธิตการตลาดบ้านหนองท่ม

1.  นายสิทธิ์  วงเวียน                         ประธาน

2.  นายคูณ  วงเวียน                           รองประธาน

3.  นายคาร  วงเวียน                          เหรัญญิก

4.  นายตัน  วงเวียน                           เลขานุการ

5.  นายปัด  วงเวียน                            กรรมการ

6.  นายสง่า  วงเวียน                          กรรมการ

 


 

บ้านประทุน  หมู่ที่  4

 

                บ้านประทุน  อยู่ทางทิศตะวันตกบานแตล  ห่างจากตัวอำเภอศีขรภูมอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  16.5  กิโลเมตร  ประชาชนในหมู่บ้านมีภาษาพูดเป็นภาษาพื้นเมือง  (เขมร)  อาชีพหลักคือการทำนา

 

                ผู้บุกเบิกบ้านประทุน

                เมื่อประมาณปี  พ.ศ.2400  พื้นที่บริเวณบ้านตากูก  บ้านแสรอ  บ้านขวาว  เกิดฝนแล้งติดต่อกันเป็นเวลา  3  ปี   ทำให้เกิดความอดอยากและโรคระบาด  ในปี  พ.ศ.2403  ครอบครัวของนายยงค์และนายยืนซึ่งเป็นคนที่อาศัยอยู่ในบ้านตากูก  ทั้งสองครอบครัวได้อพยพครอบครัวออกจากบ้านตากูกไปหาที่ทำมาหากินใหม่ซึ่งได้มีปักหลักที่บ้านประทุนปัจจุบันเพื่อเป็นที่ทำมาหากิน  หลังจากที่นายยงค์และนายยืนมาจับจองที่ทำมาหากินได้ไม่กี่เดือนก็มีครอบครัวของนายเปร  ครอบครัวนายเกรม  และครอบครัวนายชอบทั้งสามครอบครัวนี้เดิมอยู่ที่บ้านขวาวได้อพยพมาสมทบอีกรวมเป็น  5  ครอบครัวที่มาร่วมบุกเบิกพื้นที่บ้านประทุนปัจจุบัน

 

                ป่าแขนหัก

                ป่าแขนหักคือพื้นที่ที่ทั้ง  5  ครอบครัวเริ่มทำการบุกเบิกเพื่อที่จะให้หมู่บ้านต่อไป  เดิมเป็นป่าทึบ  เหตุที่ใช้ชื่อว่าป่าแขนหักนี้สันนิษฐานว่าผู้ที่มาบุกเบิกป่านี้นั้นพลาดพลังทำให้แขนหัก  จึงตั้งชื่อว่าป่าแขนหักและยังเรียกชื่อป่าแขนหักมาจนถึงปัจจุบัน

 

                ความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าแขนหัก

                ป่าแขนหักหรือพื้นที่ที่เป็นบริเวณบ้านประทุนปัจจุบัน เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด  เหมาะแก่การเพาะปลูก  เพราะเป็นที่ราบลุ่มอุดมไปด้วยปลานานาชนิดเนื่องจากบริเวณป่าแขนหักมีหนองน้ำที่มีน้ำขังตลอดทั้งปีถึง  7  หนอง  มีชื่อเรียกดังนี้

                1.  หนองกลาง    คือหนองบ้านปัจจุบัน

                2.  หนองซัลตูร   คือหนองบ้านประทุนปัจจุบัน

                3.  หนองสมัด     ปัจจุบันเรียกหนองสมัด

                4.  หนองโสน     ปัจจุบันเรียกหนองโสน

                5.  หนองโชด      ปัจจุบันเรียกหนองโชด

                6.  หนองปราน   ปัจจุบันเรียกหนองหนองปรานและหนองแดง

                7.  หนองเพนา    ปัจจุบันเรียกหนองเพนา

                พื้นที่ป่าแขนหักประมาณ  25,000  ไร่  จากหนังสือที่คัดลอกมาจากอำเภอท่าตูมทีเขียนไว้ว่าพื้นที่ป่าแขนหักมี่ต้นไม้ใหญ่  เช่น  ต้นประดู่  ต้นพยูง  ต้นเต็ง  มีอยู่ประมาณ  90,000  ต้น  ปัจจุบันก็ยังมีต้นไหม้ใหญ่ให้เห็นตือต้นประดู่ใหญ่ที่อยู่กลางหนองบ้านประทุน  วัดโดยรอบได้ความยาว  8  เมตร

 

                อาณาเขตของป่าแขนหัก

                พื้นที่ป่าแขนหักมีอาณาเขต  ดังนี้

1.  ทิศเหนือ  จดไพรโพธิ์  ปัจจุบันคือบ้านอาแวะ

2.  ทิศตะวันออก  จดป่าศิลา  ปัจจุบันคือบ้านแตล

3.  ทิศใต้  จดดงหัวแรด  ปัจจุบันคือบ้านหัวแรด

4.  ทิศตะวันตก  จดไพรสมอ  ปัจจุบันคือบ้านอายอง

 

                การตั้งหลักแหล่งของนายยงค์นายยืน

                เมื่อนายยงค์  นายยืน  นายชอบ นายเปร  และนายเกรม  ได้มาอาศัยพื้นที่ป่าแขนหักแล้ว  ได้ยึดหนองกลางเป็นหลัก  โดยใช้บริเวณหนองกลางเป็นที่ปลูกสร้างที่พักอาศัย  โดยนายยงค์กับนายชอบปลูกบ้านอยู่ทางทิศใต้ของหนองกลาง  นายยืน  นายเกรม  นายเปรนั้น  ปลูกบ้านอยู่ทางทศเหนือหนอง  แล้วตั้งชื่อบ้านว่าบ้านหนองกลางและใช้ชื่อบ้านหนองกลางนี้มาจนถึงประมารปี  พ.ศ.2450  จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบ้านประทุน

 

                สาเหตุที่ชื่อว่าบ้านประทุน

                สาเหตุที่บ้านหนองกลางเปลี่ยนชื่อมาเป็นบ้านประทุนนั้น  ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าหมู่บ้านทางทิศตะวันออกของบ้านหนองกลางคือ  บ้านแตลซึ่งมาตั้งหมู่บ้านก่อนและชาวบ้านก็พูดภาษาส่วย  และได้เลี้ยง  วัว  ควาย  เข้าไปในป่าแขนหัก  และได้พบงูจงอางที่ใกล้หนอง  (งูจงอาง  ภาษาส่วยเรียกว่า  ซัลตูร)  จึงเรียกหนองนั้นว่าปังซัลตูลหรือหนองซัลตูร  พวกส่วยจึงเรียกหมู่บ้านที่อยู่ใกล้หนองนั้นว่า  เซราะปะตูร  (เซราะ

แปลว่า  บ้าน)  หรือบ้านปะตูร  คนรุ่นหลังจึงเรียกต่อๆกันมาว่าบ้านปะตูรจนถึงปัจจุบัน  สว่นทางราชการนั้นเรียกว่าบ้านประทุน

 

                ความเป็นมาของชื่อสกุลบุญยงค์และมั่นยืน

                บุคลลที่มาบุกเบิกบ้านประทุนั้น  คือนายยงค์และนายยืน  คนแก่เล่าว่า  นายยงค์กับนายยืนเป็นคนที่มี

จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อชาวบ้านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก  ถึงแม้ทานจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม  ความดีของท่านก็ยังคงอยู่ในใจของชาวบ้าน  จนกระทั่งทางราชการประกาศให้ใช้นามสกุลในปี  พ.ศ.2469  ทางบ้านประทุนซึ่งขณะนั้นมีนายพูนเป็นผู้นำหมู่บ้านได้ประชุมชาวบ้านและได้ตั้งนามสกุลให้ชาวบ้านที่อยู่ทางทิศใต้หนองว่า  บุญยงค์  ตามชื่อของนายยงค์  และทางทิศเหนือหนองให้ใช้นามสกุลว่า  มั่นยืน  ตามชื่อของนายยืน  ดังนั้นบ้านประทุนจึงใช้นามสกุลตามชื่อของนายยงค์และนายยืนมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

                รายชื่อผู้นำของหมู่บ้าน

                บ้านประทุน  หมู่ที่  4  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ตั้งแต่เป็นหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบันมีผู้ที่เป็นผู้นำดังนี้

                1.  นายยงค์                           (ผู้บุกเบิก)

                2.  นายพูน  บุญยงค์

                3.  นายเกริม  บุญยงค์

   4.  นางคง  มั่นยืน

                5.  นายเต็ม  บุญยงค์

                6.  นายแรม  มั่นยืน

                7.  นายกลิ่น  มั่นยืน

                8.  นายทุม  บุญยงค์

                9.  นายเมอะ  มั่นยืน

                10.  นายบวร  มั่นยืน

                11.  นายกล่ำ  มั่นยืน

                12.  นายสมบัติ  พงษ์พิพัฒน์

                13.  นายเทียม  มั่นยืน

                14.  นายประดิษฐ์  สาทิพจันทร์

                    15. นายจีน   จำปาทอง

                    16.นายประดิษฐ์   สาทิพจันทร์  คนปัจจุบัน

 

                ประวัติวัดและเจ้าอาวาสวัดบ้านประทุน

                บ้านประทุนได้เริ่มสร้างวัดไว้เพื่อเป็นที่ทำบุญ  ทำความสะอาดใจ  อบรมเด็กและเยาวชน  พร้อมเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของชาวบ้าน  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2436  เริ่มแรกตั้งเป็นสำนักสงฆ์  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อปี  พ.ศ.2492  ผู้ที่เริ่มพาชาวบ้านสร้าง  คือนายพูน  บุญยงค์  ตั้งชื่อวัดว่า  วัดสว่างอารมณ์ประทุนโสภา  มีเจ้าอาวาส  ดังนี้

                1.  พระอาจารย์ปาด

                2.  พระอาจารย์ทุน

                3.  พระอาจารย์คง

                4.  พระอาจารย์ชาด

                5.  พระอาจารย์ตึง

                6.  พระอาจารย์ปาม

                7.  พระอาจารย์แย้ม

                8.  พระอาจารย์ผดุง

                9.  พระอาจารย์สิงห์

                10.  พระอาจารย์พู

11.  พระอาจารย์ยิน

                12.  พระอาจารย์คง

                13.  พระอาจารย์ชน

                14.  พระอาจารย์พิด

                15.  พระอาจารย์บุญช่วย  จันทโชโต 

                วัตถุโบราณในหมู่บ้าน

                บ้านประทุนไม่มีวัตถุโบราณให้คนรุ่นหลังได้ดู  แต่มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่หนึ่งแห่งคือ  ต้นประดู่ใหญ่วัดโดยรอบได้  8  เมตร  เป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์  อายุราวๆกรุงศรีอายุธยาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองบ้านประทุน  ให้ประชาชนได้เคารพบูชา  ไม่ว่าคนบ้านไกลหรือใกล้  นอกจากจะเป็นที่ที่เคารพบูชาแล้วบริเวณนี้ก็เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านได้อย่างดีอีกด้วย

 

                วัฒนธรรมและประเพณี

                1.  ประเพณีการเล่นตรุษ  จะเล่นในช่วงเดือน  5  ในวันแรม  14  ค่ำ  เดือน  5  และวันขึ้น  1  ค่ำเดือน  6  มีการเล่นคล้ายกับการเซิ้งบั้งไฟ  คือมีคนร้องนำแล้วจะมีคนร้องตาม  เล่นได้ทั้งเด็ก  หนุ่มสาว  ไปจนถึงคนแก่

                2.  ประเพณีการหยุดงานในเดือน  5  ในบ้านประทุนมีประเพณีการหยุดจากการทำงานในเดือน  5  เหลืออยู่  ชาวบ้านเรียกว่าตอม  แปลว่า  เว้น  คือเว้นจากการทำงานโดยมีความเชื่อต่อๆกันมาว่า  ในช่วงเดือน  5  นั้น ถ้าใครไม่หยุดทำงานหรือไม่เว้นจากการทำงาน  ในขณะที่กรรมการวัดประกาศให้หยุดงาน  จะมีอันเป็นไป  หรือฟ้าผ่า  เป็นต้น  บางปี  ในเดือนชาวบ้านจะหยุดทำงานตลอดทั้งเดือนก็มี  ประเพณีนี้ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

                3.  การเรือมอันเร  หรือรำกระทบสาก  ปัจจุบันมีการรำกระสากอยู่เหมือนกันการรำนี้จะรำในช่วง

เดือน  5  เนื่องจากชาวบ้านไม่ต้องทำงาน  จึงมาร้องรำกันและมีการเล่นสะบ้าระหว่างหนุ่มกับสาว

                4.  ประเพณีการสงฆ์น้ำพระ  ในปลายเดือน  5  คือวันแรม  15  ค่ำ  จะมีการเล่นตรุษในภาคเช้า  และภาคบ่ายสรงน้ำพระ  รุ่งเช้าก็ตักบาตร

                ทั้ง  4  ประเพณีนี้จะเล่นในช่วงเดือน  5  หรือเรียกว่าประเพณีการทำบุญตรุษสงกรานต์

                5.  ประเพณีการเซ่นศาลปู่ตา  ในวันขึ้น  3  ค่ำ  เดือน  3  และวันขึ้น  6  ค่ำของทุกปี  ชาวบ้านจะนำข้าว  ปลา  อาหาร  ขนม  ของหวาน  สุรา  ไข่ไก่  มาเซ่นปู่ตาเพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านมีความร่มเย็น  ฝนตกต้องตามฤดูกาล  จะมีการสวดมนต์ในหมู่บ้าน  ปัจจุบันชาวบ้านยังปฏิบัติและนับถือกันอยู่

                6.  ประเพณีการเล่นแม่มด  หรือมอ  ชาวบ้านจะเล่นแม่มดในวันขึ้น  1  ค่ำ  เดือน  3  เพียงคืนเดียว  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ครอบครัวมีความสุข  ถ้าใครไม่เล่นก็จะมีการเจ็บป่วยของคนในบ้าน  ดังนั้นในวันขึ้น  1  ค่ำ  เดือน  11  ชาวบ้าน  ทั้งชาย  หญิง  จะนัดกันเล่นแม่มดอย่างสนุกสนาน  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นมีดนตรีพื้นบ้าน  ข้าวตอก  ดอกไม้ธูปเทียน  ขนม  พาน  หรือขัน  ปัจจุบันการเล่นยังมีอยู่ประปรายเนื่องความเชื่อเรื่องแม่มดเริ่มลดลงและมีเพียงบางบ้านเท่นั้นที่เล่นอยู่ทุกปี

                7.  ประเพณีการบวชนาค  ประเพณีนี้คล้ายกันกับหมู่บ้านอื่นๆ

                8.  ประเพณีการแต่งงานซึ่งคล้ายกับการแต่งงานของชาวส่วย  แต่แตกต่างตรงที่ฝ่ายชายจะต้องเตรียมขนมประมาณ  12  ถาด ไปเซ่นผีฝ่ายหญิง  ฝ่ายหญิงจะเรียกเอา  ข้าวจ้าว  ข้าวเหนียว  มะพร้าว  ไก่  เป็ด  ซึ่งเป็นพิธีที่มีความยุ่งยากมากถ้าแต่งตามประเพณีเขมร  บางคู่ไม่อยากทำตามประเพณีก็หนีตามกัน  ถ้าหนีตามกันแล้วการแต่งงานก็จะไม่ถือเอาตามประเพณีจะรวบรัดเอาเลย

 

                อาชีพของหมู่บ้าน

                ประชาชนบ้านประทุนทั้งหมู่บ้านมีอาชีพทำนา  รองลงมาคือการเลี้ยงไหม  การเลี้ยงสัตว์  การปลูกผักสวนครัว  เพื่อหารายได้ในช่วงเวลาว่างจากการทำนา  รายได้ส่วนใหญ่ได้จากการขายข้าว

 

                ด้านการศึกษา

                มีรงเรียนจำนวน  1  แห่ง  เดิมนั้นได้อาศัยวัดเป็นสถานที่ในการศึกษาเล่าเรียน  ก่อนที่จะมีโรงเรียนหรือศาลาวัดนั้น  จะต้องไปเรียนที่โรงเรียนบ้านแตลในปี  พ.ศ.2480  จึงย้ายมาเรียนที่ศาลาวัดบ้านประทุน  และในปี  พ.ศ.2510  ทางราชการจึงได้จัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น  ทำให้ลูกหลานบ้านประทุนและบ้านอายองได้มีที่เรียน  ปัจจุบัน  โรงเรียนบ้านประทุนอายองเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษรปีที่  6 

 

                สภาพปัจจุบัน

                บ้านประทุนมีอายุประมาณ  126  ปี  จากจำนวนครอบครัวเพียง  5  ครอบครัวปัจจุบันมีครัวเรือนทั่งสิ้น  205  ครอบครัว  เฉลี่ยแล้วมีการขยายครอบครัวปีละ  1  ครอบครัว  มีประชากรทั้งสิ้น  1,500  คน  ประชาชนนับถือศาสนาพุทธโดยกำเนิด

                การปกครอง  เมื่อก่อนบ้านประทุนขึ้นตรงกับอำเภอท่าตูม  ปัจจุบัน  บ้านประทุนขึ้นต่ออำเภอศีขรภูมิ  มีการคมนาคมสะดวกสบาย

                ในการพัฒนาบ้านประทุนนั้นมีการพัฒนาตลอดด้วยความร่วมมือของชาวบ้านทุกหลงัคาเรือน  ทุกวันประชาชนมีความสะดวกสบาย  จากสิ่งที่รัฐจัดให้คือมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  มีน้ำอุดมสมบูรณ์  และการบริการทางด้านสาธารณสุขจัดให้มีกองทุนยาและบัตรในการรักษาพยาบาล

                ความเป็นอยู่ของประชาชนบ้านประทุนมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตามสภาพของชนบท  ฐานะของครอบครัวอยู่ในระดับยากจนประมาณ  50%  พออยู่พอกินประมาณ  50% 

 

                                                                     กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

บ้านประทุน  หมู่ที่  4  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

 

                กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านประทุน  ตั้งอยู่ที่บ้านประทุน  หมู่ที่  4  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ห่างจากอำเภอศีขรภูมิ  14  กิโลเมตร  บนเส้นทางศีขรภูมิ-จอมพระ   เป็นการดำเนินกิจกรรมหนึ่งของกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านประทุน  ก่อตั้งกลุ่มขึ้นในปี  พ.ศ.2543  โดยมีสมาชิกทั้งหมด  65  คน  มีโรงเลี้ยงไหม  20  โรงเรือน  ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรโดยมีวัตถุประสงคต์ในการดำเนินงาน  ดังนี้

                                1.  เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีตวามสามัคคีและมีความพร้อมเพรียงภายในกลุ่ม

                    2.  เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกมีปัจจัยการผลิตวัสดุ  อุปกรณ์การเลี้ยงไหมอย่างพอเพียง

                                3.  เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกมีโรงเลี้ยงไหมแบบเอกเทศเป็นของตนเอง

                                4.  เพื่อประสานงานจัดหาหม่อนไหมพันธ์ดีบริการแก่ลูกค้า

                                5.  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้สมาชิกมีความรู้เรื่องการปลูกหม่อน  เลี้ยงไหม  และการแปรผลิตภัณฑ์ไหม

                                6.  เพื่อจัดหาตลาดรับรองผลผลิต

 

                คณะกรรมการและสมาชิก

                1.  สมาชิก  ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด  65  คน  ใน  4  หมู่บ้านของตำบลแตล  โดยเป็นเกษตรกรของบ้านประทุน  ซึ่งเป็นหมู่บ้านหลัก  บ้านโนนแดง  บ้านห้วยเจริญ  และบ้านนาท่มซึ่งเป็นหมู่บ้านเครือข่าย

                2.  คณะกรรมการบริหารกลุ่ม  มี๕ระกรรมการดำเนินงานรวม  8  คน  ดังนี้

                                1.  นายโกวิทย์  ดาศรี                         ประธานกลุ่ม

                                2.  นางอรทัย  ดวงเกตุ                       รองประธาน

                                3.  นางเลียน  บุญยงค์                        กรรมการฝ่ายการตลาด

                                4.  นางสามารถ  บุญยงค์                   กรรมการฝ่ายการตลาด

                                5.  นางอุ่น  บุญยงค์                           กรรมการฝ่ายหม่อนไหม

                                6.  นางสุปราณี  มั่นยืน                       ฝ่ายประชาสัมพันธ์

                                7.  นายสุเทียบ  มั่นยืน                       เหรัญญิก

                                8.  นาวงสาวจิรวรรณ  บุญยงค์           กรรมการและเลขานุการ

 

                การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

                1.  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากกรมส่งเสริมการเกษตร  โดยศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่  3  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  ในปี  2545  ซึ่งมีการดำเนินงาน  4  กิจกรรมสำคัญคือ

                                1.  อบรมเกษตรกรหลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  15  วัน  โดยจัดส่งเกษตรกรไปเข้ารับการอบรมที่ศูนย์ส่งเสริมขยายและเพาะเลี้ยงพันธ์หม่อนไหมที่  3  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

                                2.  สนับสนุนวัสดุก่อสร้างห้องเลี้ยงไหมแบบสมทบ  ขนาด 6x8  เมตร  จำนวน  20  ห้องและส่งเสรมการปลูกหม่อนพันธ์ดี 30  ไร่  ต่อมาเกษตรกรได้ขยายการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างกว้างขวาง  โดยสมาชิกคนอื่นๆได้เข้ารวมกับกลุ่มเกษตรกรที่มีโรงเลี้ยงและสมาชิกบางคนยังลงทุนสร้างโรงเลี้ยงไหมเป็นส่วนตัว

                                3.  ศูนย์ฯจัดฝึกอบรมหลักสูตรการทำชาใบหม่อนพร้อมอุปกรณ์การทำชาใบหม่อนให้แก่กลุ่ม

                                4.  ศูนย์ฯจัดฝึกอบรมสาวไหมและการฟอกย้อมไหมและการฟอกย้อมไหมให้แก่เกษตรกร

                                กลุ่มวางแผนการรับไข่ไหมจากศูนย์ขยายพันธ์ไหมนารองปีละ  8  รุ่น  รุ่นละ  40  แผ่น  รวมทั้งปี  ประมาณ  320  แผ่น  และกลุ่มมีการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนพันธ์ไหมให้แก่สมาชิก  ดังนี้

                                สนับสนุนไข่ไหมให้สมาชิกโดยคิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงกลุ่มแผ่นละ  50  บาท

                2.  การสาวไหม  ทางกลุ่มให้สมาชิกผู้เลี้ยงไหมสาวกันเองก่อน  เนื่องจากทางกลุ่มยังไม่มีโรงสาวเป็นของส่วนรวม  และกลุ่มได้ดำเนินกิจการของบประมาณเพื่อซื้อเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติพร้อมสร้างโรงสาวไหม  จากองค์การบริหารส่วนตำบลแตลซึ่งขณะนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแตลได้อนุมัติเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่มเป็นจำนวนเงิน  400,000  บาท

 

                ผลการดำเนินงานของโรงสาวไหม

                ขณะนี้กลุ่มกำลังดำเนินการสร้างโรงสาวไหมและจัดซื้อเครื่องสาวไหม  หากสำเร็จเมื่อใดกลุ่มจะดำเนินการรับซื้อไหมจากสมาชิกทันที  ส่วนราคารังไหมต้องรอดูคุณภาพของรังไหมและราคาเส้นไหมของตลาดด้วย

 

                คณะกรรมการบริหารกลุ่ม

                1.  นายโกวิทย์  ดาศรี                         ประธานกรรมการ

                2.  นางอรทัน  ดวงเกตุ                      รองประธาน

                3.  นางเลียน  บุญยงค์                  รองประธาน

                4.  นางสุปราณี  มั่นยืน                     กรรมการ

                5.  นางอุ่น  บุญยงค์                           กรรมการ

                6.  นางสามารถ  บุญยงค์                  กรรมการ

                7.  นางสาวจิราวรรณ  บุญยงค์         กรรมการและเลขานุการ

                8.  นายสุเทียบ  มั่นยืน                       เหรัญญิก

 

                รายชื่อสมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

1.  นายโกวิท  ดาศรี                                                                           33.  นางคำผล  อุ่นใจ

2.  นางอรทัย  ดวงเกตุ                                                                       34.  นางวิภาดา  แสวงเพชร

3.  นางเรือน  บุญยงค์                                                                       35.  นางรัศมี  บุญเหมาะ

4.  นางประมวล  ดาศรี                                                                     36.  นางสุพจน์  บุญเยี่ยม

5.  นางสุปราณี  มั่นยืน                                                                     37.  นางสมุทร  ยืนสุข

6.  นายบุญช่วย  มั่นยืน                                                                     38.  นางเสงี่ยม  เกิดพร้อมพันธ์

7.  นายสมบัติ  พงษ์พิพัฒน์                                                               39.  นางสมวน  บุญยงค์

8.  นายเซียน  มั่นยืน                                                                         40.  นางบุญถิ่น  งวมสะอาด

9.  นางมะลิ  สายวิเศษ                                                                      41.  นางเอื้อม  จำปาทอง

10.  นายบึง  มั่นยืน                                                                            42.  นางนุชจรี  บุญเยี่ยม

11.  นางพวน  ดาศรี                                                                          43.  นางซ้อน  ศรีแก้ว

12.  นางสาวปราณี  บุญยงค์                                                             44.  นางสมพร  ยืนสุข

13.  นางอุไร  มั่นยืน                                                                          45.  นางปราณี ประดับศรี

14.  นางอุ่น  บุญยงค์                                                                         46.  นางหอมหวล  มั่นยืน

15.  นางเฮียะ  คงสุข                                                                         47.  นางสาวนันทิยา  บุญยงค์

16.  นางสาวจิราวรรณ  บุญยงค์                                                         48.  นางกิมลิน  ไหมทอง

17.  นายอวย  ดวงศรี                                                                         49.  นายวิโรจน์  สายวิเศษ

18.  นางจำเนียร  เจือจันทร์                                                              50.  นางประกายแก้ว  บุญมั่น

19.  นางจิตอารี  มั่นยืน                                                                     51.  นางเซียร  มั่นยืน

20.  นางผ่องศรี  มั่นยืน                                                                    52. นางศัลศนีย์  อุส่าห์ดี

21.  นางประจิม  มั่นยืน                                                                    53.  นางสารภี  ทองมาก

22.  นายสมยศ  ส้มแก้ว                                                                    54.  นางยุพิน  บุญศรี

23.  นางเมือย  บุญยงค์                                                                     55.  นางประยูร  สุขประทุม

24.  นางประนอม  มั่นยืน                                                                  56.  นางน้อย  ทองมาก

25.  นางเลียน  บุญยงค์                                                                     57.  นางเอื้อง  บุญยงค์

26.  นางสามารถ  บุญยงค์                                                                58.  นางประกอบ  บุญยงค์

27.  นายสุเทียบ  มั่นยืน                                                                    59.  นางพรหมจิตร  พวงพอก

28.  นางปุด  เครือวัลย์                                                                       60.  นายเลื่อน  บุญยงค์

29.  นางสัมฤทธิ์  มั่นยืน                                                                   61.  นางประเสริฐ  ลาภจิตร

30.    นางเสาะ  อุส่าห์ดี                                                                    62.  นางสง่า  บุยยงค์

31.  นางกอ  กันพานิชย์                                                                    63.  นางคำพลี  บุญยงค์

32.  นางเต้น  มั่นยืน                                                                          64.  นางปราณี  ประดับศรี 

                                                                                                        65.  นายเลื่อน  บุญยงค์

 

 


 

ประวัติบ้านหนองคู  หมู่ที่ 5

 

                บ้านหนองคู  หมู่ที่  5  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2434  หรือเมื่อ  112  ปีที่ผ่านมา  บุคคลแรกที่อพยพเข้ามาก่อตั้งคือ  นายคงและนางแดง  โดยอพยพมาจากบ้านแตลเพื่อหาทำเลที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและดำรงค์ชีพ  เมื่อมาพบหนองน้ำและที่ราบลุ่มจึงได้ติดสินใจตั้งรกรากและสร้างครอบครัว  ต่อมาจึงมีคนอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้น  นายคงจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านหนองคูและต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนสิทธิ์ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของตำบลแตล

                ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.2475  ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่และผู้ที่ได้เป็นคือนายสอน  จากนั้นผู้ที่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านในลำดับต่อมาคือ  นายเนียม  นายจันทร์  นายมา  หรือกำนันมา  เจือจันทร์   นายวิเชียร  แสงนวล  และนายมานะ  ทมะนันท์  คนปัจจุบัน

 

                สภาพปัจจุบัน

                พื้นที่บ้านหนองคูมีทั้งหมด  918  ไร่  เป็นพื้นที่ทางการเกษตร  818  ไร่  เป็นที่อยู่อาศัย  100  ไร่  จำนวน  ครัวเรือนทั้งหมด  79  หลังคาเรือน  67  ครอบครัว

 

                โครงสร้างพื้นฐาน

                ถนนภานในหมู่บ้านประมาณ  1,700  เมตร  เป็นถนนคอนกรีตประมาณ  900  เมตร

                ระบบไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านเมื่อเดือน  มีนาคม  2525

                ระบบประปาหมู่บ้านจัดสร้างเมื่อปี  พ.ศ.2538  และปี  พ.ศ.2542

                ถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน  1  สาย  ระยะทาง  2,000  เมตร

 

                จำนวนประชากร

                มีประชากรทั้งหมด  192  คน  เป็นชาย  136  คน  เป็นหญิง  156  คน

           

 

                การประกอบอาชีพ

                ผู้มีอาชีพทำนาและมีที่ดินเป็นของตนเอง                     จำนวน                   30           ครอบครัว

                ผู้มีอาชีพทำนาแต่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง                   จำนวน                   13           ครอบครัว

                ผู้มีอาชีพรับราชการ                                                   จำนวน                   20           ครัวเรือน

                ผู้มีอาชีพรับจ้างชั่วคราวและถาวร                                   จำนวน                   12           ครัวเรือน

                ผู้มีชีพค้าขาย                                                                จำนวน                   4              ครอบครัว

                เศรษฐกิจของหมู่บ้าน

                ผลผลิตจากการทำนาปีละประมาณ  480  เกวียน  คิดเป็นเงินประมาณ  1,920,000  บาท

                ผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์  หมู  วัว  ควาย  เป็ด  ไก่  คิดเป็นเงินประมาณ  250,000  บาท

                ผู้รับราชการมีรายได้รวมทั้งปีประมาณ  3,506,880  บาท

               

                รายได้จากอาชีพเสริม

               ช่างซ่อมไฟฟ้า                                     35,000                   บาท

                ทอผ้า  เส้นไหม                                   20,000                  บาท

                รวมรายได้ประมาณปีละ                    6,856,00               บาท

                รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี                       26,352                   บาท

รายจ่ายจากการประกอบอาชีพ ซื้อปุ๋ย  ค่าจ้างแรงงาน  ค่าเครื่องจักรและอื่นๆ               รวมรายจ่ายจากการประกอบอาชีพประมาณปีละ  1,135,250  บาท

 

                ภาวะหนี้สินของราษฎรในหมู่บ้าน

                เป็นหนี้  ธกส.  จำนวน  28  ครอบครัว  เป็นเงิน  546,000  บาท

                เป็นหนี้กองทุนหมู่บ้าน  จำนวน  57  ครอบครัว  เป็นเงิน  977,000  บาท

                เป็นหนี้นายทุน  จำนวน  10  ครอบครัว  เป็นเงิน  200,000  บาท

                เป็นหนี้สถาบันการเงินอื่น  9  ครอบครัว  เป็นเงิน  1,590,000 บาท

                เป็นหนี้กองทุนอื่นของหมู่บ้าน  เป็นเงิน  150,000  บาท

                                                รวมทั้งสิ้น  เป็นเงิน  3,483,000  บาท

 

          

                วัฒนธรรมและประเพณี

                บ้านหนองคูมีวัดประจำหมู่บ้านคือ  วัดทุ่งสว่างหนองคู  มีพระจำพรรษาทุกปีและมีพระที่อยู่ประจำจำนวน  2  รูป

                ภาษาที่ใช้ 

ภาษาส่วย

                อนุสรณ์สถาน 

ขุนสิทธิ์

                สังคมและการปกครอง  ผู้ใหญ่บ้าน  นายมานะ   ทมะนันท์

                ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นายสาร  คงนาค

                                นางประเทือง  เจือจันทร์

                สมาชิก  อบต.  นายสมศักดิ์  รักใคร่กลาง  และนายบุญจันทร์  คงนาค

               

                กลุ่มอาชีพและกองทุน

                1.  กองทุนยา  มีสมาชิก  33  คน  เงินกองทุน  5,000  บาท

                2.  กองทุนสุขาภิบาล  มีสมาชิก  43  คน  เงินกองทุน  51,000  บาท

                3.  กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน  มีสมาชิก  261  คน  เงินกอองทุน  5,000  บาท

                4.  กองทุนเพื่อพัฒนาเยวชน  มีสมาชิก  37  คน  เงินกองทุน  7,000  บาท

5.  กองทุนธนาคารข้าง  มีสมาชิก  32  คน  เงินกองทุน  4,800  บาท  ข้าวประมาณ  450  ถัง

                6.  กองทุนแม่บ้าน  มีสมาชิก  30  คน  เงินกองทุน  5,000  บาท

                7.  กองทุนกลุ่มเยาวชนเลี้ยงโค  มีสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่  15-25  ปี  เป็นสมาชิก  มีเงินกองทุน  20,000  บาท  และมีโคเป็นของกลุ่ม  8  ตัว

                8.  กองทุนประปา  มีสมาชิก  65  ครัวเรือน   มีเงินกองทุน  20,958  บาท

                9.  กองทุนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  มีสมาชิก  64  คน  เงินกองทุน  123,250  บาท

                10.  กองทุนหมู่บ้าน  มีสมาชิก  64  คน  เงินกองทุน  1,017,920  บาท

                11.  กองทุนกลุ่มเลี้ยงไก่  แต่สมาชิกเห็นว่าการเลี้ยงไก่อาจจะไม่ได้ผลจึงได้นำเงินกลุ่มไปซื้อโคเป็นจำนวนเงิน  35,000  บาท  ได้โคแม่พันธ์จำนวน  7  ตัว  ขณะนี้ให้สมาชิกนำไปเลี้ยงคนละ  1  ตัว

                12.  กองทุนสาธิตการตลาด  มีสมาชิก  64  คน  มีเงินกองทุน  100,000  บาท

                13.  กองทุนกลุ่มเลี้ยงโค  มีสมาชิก  46  คน  เงินทุนได้รับการจัดสรรจากเงินรางวัลที่องค์การบริหารส่วนตำบลแตลชนะเลิศ  อบต.ดีเด่น  จำนวน  60,000  บาท

 

                สังคมบ้านหนองคูเป็นสังคมที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย  ทำเกษตรกรรมและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันตลอดมา  ไม่ค่อยมีปัญหาด้านสังคมเหมือนชุชนอื่น  เพราะบ้านหนองคูมีวัฒนธรรมที่ดีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

 


 

ประวัติบ้านสังแก หมู่ที่ 6

 

                บ้านสังแก  หมู่  6  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  เมื่อต้นปี  พ.ศ.2443  ชาวบ้านสังแก

ได้แยกออกจากบ้านแตล  ซึ่งมีพ่อแก้ว  ฉิมมมาลี  เป็นคนแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน  ประกอบอาชีพทำนา  เมื่อปี 

พ.ศ.2447  บ้านสังแกได้ขึ้นตรงกับตำบลแตล  อำเภอท่าตูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายแก้ว 

ฉิมมาลี  กำนันคนแรกคือ  ขุนสิทธิ์  (คง)

 

                ผู้ใหญ่บ้านสังแก  มีดังนี้

    1.  นายแก้ว  ฉิมมาลี                          ดำรงตำแหน่งเมื่อ  พ.ศ.2460-2479

                2.  นายเหลิน  บุตรดีขันธ์                    ดำรงตำแหน่งเมื่อ  พ.ศ.2479-2499

                3.  นายยิ  ศรีแก้ว                                ดำรงตำแหน่งเมื่อ  พ.ศ.2499-2508

                4.  นายแก้ว  ลักขษร                          ดำรงตำแหน่งเมื่อ  พ.ศ.2508-2527

                5.  นายสมบูรณ์  พิมพ์จันทร์            ดำรงตำแหน่งเมื่อ  พ.ศ.2527

             6.  นายจำเริญ    บันลือทรัพย์             คนปัจจุบัน (กำนันตำบลแตล)

ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน  คือ  นายสมบูรณ์  พิมพ์จันทร์

 

                สภาพภูมิศาสตร์

                บ้านสังแก  ตำบลแตล  ห่างจากอำเภอศีขรภูมิ  ประมาณ  14  กิโลเมตร  พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การ  ทำการเกษตร  และเลี้ยงสัตว์

                อาชีพหลักของชาวบ้านสังแก  คือ  การทำนา  รองลงมา  คือ  การเลี้ยงสัตว์  ปลูกหม่อน  เลี้ยงไหม  รับจ้างทั่วไป

                                ประชากรทั้งหมด                690      คน

                                ประชากรชาย                       329     คน

                ประชากรหญิง                          361   คน

                                มีเนื้อที่ทั้งหมด                    1,464     ไร่

                                ที่อยู่อาศัย                              100         ไร่

                                ที่ทำกิน                                  1,364     ไร่

 

                บ้านสังแกแบ่งออกเป็น  6  เขต  ดังนี้             

เขตที่  1  อีสานใต้  หัวหน้าเขต  คือ  นายจิตร  หล้าไสย์

เขตที่  2  มิตรสัมพันธ์  หัวหน้าเขต  คือ  นายประยงค์  เจือจันทร์

เขตที่  3  อมรเมืองเหนือ  หัวหน้าเขต  คือ  นายไพรฑูรย์ แสวงดี

เขตที่  4  ศรีบุญเรือง  หัวหน้าเขต  คือ  นายสหัส  กันมายา

เขตที่  5  นภาเมืองใหม่  หัวหน้าเขต  คือ  สมพงษ์  หล้าไสย์

เขตที่  6  โชควัฒนา  หัวหน้าเขต  คือ  นายนิด  สมัครสมาน

 

                รายชื่อกรรมการหมู่บ้าน

1.  นายสมบูรณ์  พิมพ์จันทร์                            ประธานกรรมการหมู่บ้าน

2.  นายโพธิ์ทอง  วิเศษไสย                              ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง

3.  นางระวิพรรณ  เจือจันทร์                           ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง

4.  นายจำเริญ  บรรลือทรัพย์                            สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

5.  นายบุญเลิศ  แสวงดี                                     สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

6.  นางพุทธชาติ  บรรลือทรัพย์                       กรรมการฝ่ายสาธารณสุข

7.  นายสอน  บรรลือทรัพย์                              กรรมการฝ่ายการคลัง

8.  นายนิติศักดิ์  ศรีแก้ว                                     กรรมการฝ่ายสวัสดิการสังคม

9.  นายศักดิ์  ยี่สุ่นศรี                                          กรรมการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม

10.  นายลี  บรรลือทรัพย์                                  กรรมการฝ่ายพัฒนา

 

                กองทุนและกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน

1.  กลุ่มร้านค้าชุมชน                         จำนวนสมาชิก  145  คน

2.  กลุ่มเลี้ยงโค                                    จำนวนสมาชิก  79  คน

3.  กลุ่มทอผ้าไหม                              จำนวนสมาชิก  25  คน

4.  กองทุนธนาคารข้าว                      จำนวนสมาชิก  97  คน

5.  กองทุนหมู่บ้าน                             จำนวนสมาชิก  126  คน

 

                ด้านการศึกษา

โรงเรียนประถม                  1              แห่ง

ครู                                           1              คน

นักเรียน                                                 คน

                ชาย                                         คน

                หญิง                                       คน

 

                ด้านการรักษาความมั่นคงภายใน

-  อบรมลูกเสือชาวบ้าน  1  รุ่น  จำนวน  15  คน

-  อบรมกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ  1  รุ่น  จำนวน  200  คน

-  อาสาสมัครป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  จำนวน  25  คน

                ด้านสาธารณสุข

                อาสาสมัคสาธารณสุขมูลฐานชุมชน  จำนวน  15  คน  ดังนี้

1.  นางพุทธชาติ  บรรลือทรัพย์

2.  นางสำราญ  ศรีแก้ว

3.  นางยี่สุ่น   วิเศษไสย์

4.  นางสมถวิล  ศรีวิเศษ

5.  นางแสงเดือน  เจือจันทร์

6.  นางพุทรา  กันมายา

7.  นางลำดวน  ยี่สุ่นศรี

8.  นางกนิษฐา  เจือจันทร์

9.  นางรำพัน  เจือจันทร์

10.  นางพิศมัย  ยี่สุ่นศรี

11.  นางสุมาลี  บุญยงค์

12.  นางฉวีวรรณ  แสวงดี

13.  นางบังอร  เจือจันทร์

14.  นางเพชรมณี  ลักขษร

15.  นางปราณี  เสนาะเสียง

 

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบ้านสังแก  ม. 6

วัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้าน

                1.  เป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านและชุมชน  สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ  สร้างงาน  สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย

                2.  ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านมีขีดความสามารถในการจัดการและบริหารเงินทุนของตนเอง

                3.  ส่งเสริมกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้าน  การเรียนรู้  การสร้างและพัฒนาความคิด

                4.  กระตุ้นเศรษฐกิจในหมู่บ้านและชุมชน

                5.  เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้าน

 

จุดมุ่งหมายของกอองทุนหมู่บ้าน

                1.  เสริมสร้างจิตรสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น

                2.  เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน  ราชการ  เอกชนและประชาคม

                3.  ชุมชนมีอาชีพ  มีรายได้สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

 

จำนวนสมาชิกของกองทุน

                กองทุนหมู่บ้านสังแกมีสมาชิกทั้งสิ้น            126  คน

                เป็นชาย                                 39  คน

                                                เป็นหญิง                               87  คน

 

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสังแก

วัตถุประสงค์ของกลุ่มทอผ้าไหม

                1.  เพื่อสร้างรายได้  ลดรายจ่ายในชุมชน

                2.  เพื่อพัฒนาฝีมือและแรงงาน

                3.  เพื่อสร้างงานในชุมชน

                4.  เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน

                5.  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

 

เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของกลุ่ม

                สมาชิกในกลุ่มมีการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน  สร้างรายได้  ลดรายจ่าย  เพื่อนำไปสู่กระบวนการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน

 

สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม

                กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสังแกมีสมาชิกทั้งสิ้น  จำนวน  25  คน

                คณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มทอผ้าไหม มีดังนี้

1.  นางระวิพรรณ  เจือจันทร์          ประธาน

2.  นางสมถวิล  ศรีวิเศษ                   รองประธาน

3.  นางสมพร  เจือจันทร์                  กรรมการ

4.  นางวิไลพร  บรรลือทรัพย์          กรรมการ

5.  นางสำราญ  ศรีแก้ว                      กรรมการ

6.  นางบังอร  เจือจันทร์                    กรรมการ

7.  นางเพชรมณี  ลักขษร                 กรรมการ

8.  นางกนิษฐา  เจือจันทร์                                เหรัญญิก

9.  นางพุทธชาติ  บรรลือทรัพย์       เลขานุการ

 

 

 

 

กลุ่มร้านค้าชุมชน  (ร้านศูนย์สาธิตการตลาด  บ้านสังแก)

วัตถุประสงค์ของกลุ่ม

1.  เกิดการเรียนรู้การจัดการบริหารร้านค้าชุมชน  กำกับ  ดูแล  จัดสรรผลประโยชน์ของร้านค้า

2.  ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริหาร

3.  เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในหมู่บ้านและชุมชน

4.  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในชุมชน

5.  เพื่อให้สมาชิกซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด

6.  เพื่อสร้างงานในชุมชน

7.  เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกัน  โดยอาศัยจากสมาชิก  เพื่อสมาชิก  สู่สมาชิก

กลุ่มร้านค้าชุมชนมีสมาชิกทั้งสิ้น  145  คน

คณะกรรมการร้านค้าชุมชน

1.  นายสมบูรณ์  พิมพ์จันทร์            ประธาน

2.  นายจำเริญ  บรรลือทรัพย์            รองประธาน

3.  นายสอน  บรรลือทรัพย์              ผู้จัดการ

4.  นายลี  บรรลือทรัพย์                     กรรมการ

5.  นางสมพร  เจือจันทร์                  กรรมการ

6.  นางยี่สุ่น  วิเศษไสย์                      กรรมการ

7.  นางพลอย  เจือจันทร์                   กรรมการ

8.  นายนิติศักดิ์  ศรีแก้ว                     กรรมการ

 

กลุ่มธนาคารข้าว

 

วัตถุประสงค์ของกลุ่ม

1.  เพื่อให้สมาชิกมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชน

2.  เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

3.  เพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน

4.  เพื่อลดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ

5.  เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

กลุ่มธนาคารข้าวมีสมาชิกทั้งสิ้น  97  คน

 

                คณะกรรมการดำเนินงานธนาคารข้าว

1.  นายสมบูรณ์  พิมพ์จันทร์            ประธาน

2.  นายจิตร  หล้าไสย์                        กรรมการ

3.  นายสอน  บรรลือทรัพย์              กรรมการ

4.  นายโพธิ์ทอง  วิเศษไสย์              กรรมการ

5. นายจำเริญ  บรรลือทรัพย์             กรรมการ

6.  นางระวิพรรณ  เจือจันทร์           เลขาฯ

 


 

ประวัติบ้านสวาย  หมู่ที่  7

 

                แรกเริ่มนั้นบ้านสวายเป็นหมู่บ้านที่อพยพเข้ามา  เพื่อหาที่ทำการเพาะปลูกที่เหมาะสม  กลุ่มแรกที่อพยพเข้ามานั้นมาจากบ้านแตลโดยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกหนองสวาย  ได้เกิดโรคระบาดทำให้ผู้คนที่มาอาศัยอยู่ล้มตายเป็นจำนวนมาก  จึงได้อพยพกลับบ้านแตล

                อีกไม่นานก็มีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอีกครั้ง  โดยครั้งนี้มาอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านสวาย  จากการบอกเล่ามาว่าคนกลุ่มนี้นำโดยนายแก้ว  และต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อีกหลายกลุ่ม เพื่อหาที่ทำมาหากินในด้านการเพาะปลูก  เมื่อปี  พ.ศ.2438  ได้รับการยกฐานะให้เป็นหมู่บ้านขึ้น  โดยใช้ชื่อหมู่บ้านตามสัญลักษณ์ว่าบ้านสวาย  เพราะข้างๆหนองสาธารณะจะมีต้นสวายใหญ่  (ภาษาเขมร)  อยู่กลางหนองน้ำ  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบ้านสวายจึงได้ชื่อว่าบ้านสวายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  และได้ทำการแต่งตั้งนายแก้วขึ้นเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน  ตามลักษณะการปกครองการปกครองท้องที่  ผู้ที่มีตำแหน่งทางด้านการปกครองตามหัวเมืองต่างๆจะเรียกกันว่าขุน 

ต่อมาชาวบ้านเรียกนายแก้วว่าขุนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ซึ่งขึ้นกับอำเภอท่าตูม  ต่อมานายแก้วก็เสียชีวิตลง  ต่อมาทางการจึงสั่งให้มีการใช้นามสกุลขึ้น  ทางชาวบ้านจึงใช้ชื่อของนายแก้วมาตั้งนามสกุลเพื่อให้เป็นเกียรติและระลึกถึงคุณงามความดีว่าศรีแก้วและเพื่อนของนายแก้วที่ชื่อนายเจือได้เสียชีวิตลงเช่นกันชาวบ้านจึงใช้ชื่อของท่านมาตั้งเป็นนามสกุลว่าเจือจันทร์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ผู้ปกครองหมู่บ้านคนที่สองได้แก่นายโคตร  ศรีแก้ว  คนที่สามคือนายม๊อค  เจือจันทร์  คนที่สี่คือ  นายสา  เจือจันทร์  ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา  13  ปี  ทางการก็เปลี่ยนการปกครองใหม่ให้ขึ้นตรงต่ออำเภอศีขรภูมิ  พ.ศ.2476-2489

                คนที่  5  คือ  นายคุย  ศรีแก้ว  พ.ศ.2468-2492

                คนที่  6  คือ  นายนายปรึก  อดจันทร์  พ.ศ.2492-2494

                คนที่  7  คือ  นายนายพุด  ศรีแก้ว  พ.ศ.2494-2498

                คนที่  8  คือ  นายนายปาน  มณีคำ  พ.ศ.2498-2501

                คนที่  9  คือ  นายนายคุณ  ศรีแก้ว  พ.ศ.2501-2510

                คนที่  10  คือ  นายนายประสาท  ศรีแก้ว  พ.ศ.2510-2513

                คนที่  11  คือ  นายนายชิน  เจือจันทร์  พ.ศ.2513

                คนที่  12  คือ  นายนายมี  ศรีแก้ว  พ.ศ.2523-2539

                คนที่  13  คือ  นายนายชัยศรี  เจือจันทร์  พ.ศ.2539-2544

                คนที่  14  คือ  นายชาติชาย  ศรีแก้ว  พ.ศ.2544-2548

            คนที่  15  คือ  นายสมภพ     เจือจันทร์  พ.ศ.2548-2551

            คนที่  14  คือ  นายสมนึก   ศรีแก้ว  คนปัจจุบัน

 

 

สภาพหมู่บ้าน

                บ้านสวายเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์

 

อาณาเขต

                ทิศเหนือ  จดบ้านแตล

                ทิศตะวันออก  จดบ้านโนนจารย์-อาวุธ  บ้านหนองขวาง

                ทิศใต้  จดบ้านหนองผักบุ้ง

                ทิศตะวันตก  จดบ้านบุละลาย

 

พื้นที่

                บ้านสวายมีพื้นที่ทั้งหมด                   1,495  ไร่

                พื้นที่ทำการเกษตร                              1,350  ไร่

                ที่อยู่อาศัย                                                 155  ไร่

                สาธารณะ                                                   30  ไร่

 

บ้านเรือน  ประชากร

                หลังคาเรือนตามกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยปี  พ.ศ.2544

                จำนวนประชากรทั้งสิ้น                    245       หลังคาเรือน

                ประชากรทั้งหมด                              1,063                  คน

                                ชาย                                    591                     คน

                                หญิง                                    572                   คน

                มีที่ทำกินเป็นของตนเอง                   154         หลังคาเรือน

                ไม่มีที่ทำกิน                                      38          หลังคาเรือน

                เช่าที่ทำกิน                                      14          หลังคาเรือน

 

การปกครอง

                ด้านสการบริหารชาวบ้านสวายได้บริหารหมู่บ้านด้วยดีมาโดยตลอดและในช่วงปี  พ.ศ.2524  เป็นต้นมาซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีได้มีการปรับปรุงแหล่งน้ำใช้คือสระบ้านสวาย  โดยใช้วิธีระดมสมาชิกชาวบ้านช่วยกันขุดลอก

 

                

ด้านการปกครอง

                เพื่อสะดวกในการปกครอง  บ้านสวายจึงแบ่งการปกครองออกเป็น  10  เขต  ดังนี้

                เขตที่  1  นายอุทัย  ศรีแก้ว                ประธานเขต

เขตที่  2  นายเติม  ศรีแก้ว                ประธานเขต

เขตที่  3  นายนุช  ศรีแก้ว                 ประธานเขต

เขตที่  4  นายนิยม  สืบเพ็ง               ประธานเขต

เขตที่  5  นายเบ้า  ศรีแก้ว                 ประธานเขต

เขตที่  6  นายสมนึก  ศรีแก้ว            ประธานเขต

เขตที่  7  นายมี  ศรีแก้ว                     ประธานเขต

เขตที่  8  นายเกร็ง  พิมพ์จันทร์       ประธานเขต

เขตที่  9  นายสวัสดิ์  เจือจันทร์        ประธานเขต

เขตที่  10  นายทรัพย์  ศรีแก้ว          ประธานเขต

         และมีคณะกรรมการหมู่บ้าน  ดูแลให้คำแนะนำสมาชิก  ดังนี้

 

กรรมการฝ่ายปกครอง  ประกอบด้วย

                1.  นายชาติชาย  ศรีแก้ว

                2.  นายอุทัย  ศรีแก้ว

                3.  นายบุญมี  ดำเนินงาม

                4.  นายมนตรี  ชัยดา

                5.  นายเบ้า  ศรีแก้ว

                6.  นายชัยพร  เจือจันทร์

               

กรรมการฝ่ายพัฒนา

                1.  นายชาติชาย  ศรีแก้ว

               

กรรมการฝ่ายสาธารณะสุข

                1.  นางกรรนิการ  เจือจันทร์

                2.  นางเพ็ญศรี  ศรีแก้ว

                3.  นายปรีชา  มณีคำ

 

กองทุนหมู่บ้าน

                1.  กองทุนธนาคารข้าว  ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2527  มีสมาชิกทั้งหมด  69  คน  ปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่  39,012  บาท  มีข้าวอยู่ในยุ้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่สมาชิก  29  ตัน  ให้สมาชิกถือหุ้นรายละ  3  ถัง  รวม  207  ถัง

                2.  กองทุนธนาคารโค-กระบือ  ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2528  ครั้งแรกมีกระบือมาแจกให้สมาชิกเลี้ยง  2  ตัว  ปัจจุบันมีกระบืออยู่  14  ตัว 

                3.  กองทุนประปาหมู่บ้าน  ก่อตั้งเมื่อ  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.2544  มีรสมาชิกทั้งหมด  196  คน  ปัจจุบันมีเงินกองทุน  45,521  บาท

                4.  กองทุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ด้วยโอกาส  และเหตุฉุกเฉินโดยได้รับเงินมาครั้งแรก  125,000  บาท  ปัจจุบันมีเงินอยู่  17,255  บาท 

                5.  กองทุนบัตรสุขภาพ  ก่อตั้งเมื่อ  พ.ศ.2527  มีสมาชิกเริ่มแรก  98  คน  ปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่  8,000  บาท

 


 

ประวัติบ้านนาท่ม  หมู่ที่ 8

 

                บ้านนาท่มตั้งมาได้ประมาณ  200  กว่าปีมาแล้ว  พูดภาษาพื้นบ้านได้  3  ภาษา  เดิมบ้านนาท่มมีนายเหมาะ  ภรรยานางบุญยังไม่มีนามสกุลและนายอินทร์  ไม่ทราบนามสกุล  จากบ้านอายองฝ่าหนึ่งย้ายมาจากบ้านสำโรงไพรษรมีนามสกุล  บุตรดีขันธ์  บุญเยี่ยม  ทวีสุข  แก้วหล้า

                แรกเริ่มบ้านนาท่มได้ขึ้นกับตำบลท่าตูม  จังหวัดสุรทวน  (สุรินทร์)  สมัยนั้นยังไม่มีผู้ใหญ่บ้าน  ทางอำเภอมาตั้งกรรมการดูแลทุกข์สใขของประชาชนภายในหมู่บ้านซึ่งมีประมาณ  198  หลังคาเรือน  ประชากรทั้งสิ้น 781  ชาย จำนวน  384 ราย  หญิง  จำนวน 397  ราย ที่อยู่อาศัยปลูกบ้าน  1,000  กิโลเมตร  กว้างประมาณ  200  เมตร  ส่วนมากเป็นพื้นที่เรียบ  เป็นที่ปักดำทำนาหมู่บ้านยาวไปด้านตะวันออกเป็นแนวขวาง  มีน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน  ต่อมานkยเหมาะมีอายุมากขึ้นทางอำเภอจึงได้เข้ามาแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านแทนนายเหมาะ  คือนายเมายังไม่มีนามสกุล  นายเมาได้ตีกะลอเรียกชาวบ้านมาประชุมในหัวข้อที่ว่าทางอำเภอให้ตั้งนามสกุล  ชาวบ้านเห็นว่านายบุญ  เป็นคนที่มีความซื่อสัตว์เลยตั้งนามสกุลว่าบุญเหมาะ  โดยชื่อของนายบุญและนางเหมาะซึ่งเป็นภรรยามารวมกันนั่นเอง 

 

รายชื่อผู้ปกครองหมู่บ้าน

                1.  นายเมา  บุญเหมาะ      ผู้ใหญ่บ้านคนแรก

                2.  นายทอน  ศรีแก้ว          ผู้ใหญ่บ้านคนที่  2

  3.  นายทิพย์  ศรีแก้ว          ผู้ใหญ่บ้านคนที่  3  (เป็นบุตรของนายทอน  ศรีแก้ว)

                4.  นายสุวรรณ  บุญเยี่ยม  ผู้ใหญ่บ้านคนที่  4 

                5.  นายเจีย  บุญเหมาะ      ผู้ใหญ่บ้านคนที่  5

                6.  นายยศ  บุญเหมาะ       ผู้ใหญ่บ้านคนที่  6

                7.  นายไทย  ชาวนา           ผู้ใหญ่บ้านคนที่  7

                8.  นายวินัย  ทวีสุข            ผู้ใหญ่บ้านคนที่  8  (เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่  9  ของตำบลแตล      เมื่อวันที่  18  กุมภาพันธ์  2524)

                9.  นายเชียง  ทวีสุข           ผู้ใหญ่บ้านคนที่  9

                10.  นายจีน  ศรีแก้ว           ผู้ใหญ่บ้าน

               11. นายสุทิน   ศรีแก้ว             ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

 

อาณาเขตบ้านน่าทม

1.  ทิศเหนือติดกับบ้านอาวุธ  เป็นระยะทาง  3  กิโลเมตร  ถนนเป็นทางเกวียน

2.  ทิศใต้ติดกับบ้านโนนแคน  เป็นระยะทาง  3  กิโลเมตร  ถนนเป็นทางเกวียนลึกมีน้ำขัง

3.  ทิศตะวันออกติดกับบ้านสำโรง  เป็นระยะทาง  3  กิโลเมตร  ถนนเป็นทางเกวียนลึกมีน้ำขัง

4.  ทิศตะวันตกติดกับบ้านโนนถ่อน  เป็นระยะทาง  3  กิโลเมตร  ถนนเป็นทางเกวียนเป็นหลุมเป็นบ่อการสัญจรไปมาลำบาก

 

ด้านศาสนา

                เดิมวัดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ริมหนองน้ำสระใหญ่บ้านนาท่ม  ทิศเหนือมุมตะวันออก  อยู่ได้ไม่นานก็ย้ายไปที่ใหม่อีก  คืออยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน  และเรียกวัดนี้ว่าวัดประชาสัมพันธ์  คนในสมัยก่อนนั้นไม่มีที่เล่าเรียนจึงให้วัดเป็นที่เรียนแต่มีแค่ถึง  ป.4  แต่ก็มีความรู้ความสามารถเข้าสอบเป็นครูได้  ในสมัยนั้นเรียกว่า  ครูป.4

                เมื่อ  พ.ศ.2505  ได้มีการแยกหมู่บ้านออกเป็นอีกหนึ่งหมู่คือ  บ้านหนองผักบุ้ง  หมู่ที่  19  เมื่อปี  ส่วนที่แยกออกมานั้นเป็นเขต 3  เขต  1  เขต  2  ก็ยังเป็นบ้านนาท่มเหมือนเดิม

                โรงเรียนได้แยกออกจากวัดไปตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกหมู่บ้านหนองผักบุ้งเมื่อปี  พ.ศ.2514  เดือนธันวาคม  โรงเรียนเดิมมีชื่อว่า  ประชาบาลตำบลแตล  3  (วัดประชาสัมพันธ์)  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่1  มิถุนายน  2481  โดยมีขุนปรุงจรุงจิตรประชารมย์เป็นนายอำเภอ  และนายบัวสอน  สลับแสงเป็นศึกษาธิการอำเภอ  เป็นผู้จัดตั้งขึ้นตามความประสงค์ของประชาชนบ้านนาท่ม  โรงเรียนตั้งขึ้นด้วยงบประมาณแผ่นดิน  ครั้งแรกมีครูอยู่  2 คน  คือนายเลียว  เจือจันทร์  เป็นครูใหญ่  และนายพรหมมา  แก้วหล้า  เป็นครูน้อย  มีนักเรียนทั้งสิ้น  78  คน  สถานที่เล่าเรียนอาศัยศาลาวัดบ้านนาท่มเป็นที่เล่าเรียนตลอดมา

                เมื่อปี  พ.ศ.  2488  ทางราชการได้ย้ายนายเลียว  เจือจันทร์  ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านสวาย  และตั้งนายพรหมทา  แก้วหล้า  เป็นผู้รักษาการแทนครูใหญ่  มีนายบุญ  บุญเยี่ยมและนายมุม  สมชอบ  เป็นครูน้อย  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  1-ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

                ปี  พ.ศ.2502  นายพรหมมา  แก้วหล้า  ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านหนองผือ  ตำบลช่างปี่  และย้ายนายทวน  พรหมขันธ์มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

ปี  พ.ศ.2505  นายทวน  พรหมขันธ์  ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูน้อยที่โรงเรียนบ้านแตล  และย้ายนายชาลี  มณีคำ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

ปี  พ.ศ.2507  คณะครูนักเรียนได้หาเงินด้วยการทำนา  ปลูกผักและเลี้ยงไก่  ได้รวบรวมเงินซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างโรงเรียนปัจจุบัน  มีเนื้อที่  10  ไร่  1  งาน  22  ตารางวา

ปี  พ.ศ.2514  เดือนธันวาคม  ได้เริ่มสร้างอาคารเรียนแบบป.1ฉ.สูง  1  หลัง  ในที่ดินแห่งใหม่แห่งนี้  และได้มาเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่เมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2515

ปี  พ.ศ.2521  ทางราชการได้เปิดขยายสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ  ป.1ฉ.ต่ำ  1  หลัง  งบประมาณ  120,000  บาท  2  ห้องเรียน

ปี  พ.ศ.2524  นายชาลี  มณีคำ  ครูใหญ่ได้เกษียณอายุราชการ  ทางราชการจึงได้แต่ตั้งให้นายบุญรอด  ประวาสุข  (ครูน้อย)ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน  เมื่อวันที่  1  ตุลาคม  2524

ปี  พ.ศ.2526  สปช.  ได้อนุมัติงบประมาณติดตั้งกระแสไฟฟ้าภายในอาคารเรียน  ได้อนุมัติเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ  ป.1  ฉ.ต่ำ  1  หลัง  3  ห้องเรียน  งบประมาณ  420,000  บาท

ปี  พ.ศ.2528  ทางราชการได้อนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กและเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน  จากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่เมื่อวันที่  14  มีนาคม  พ.ศ.2528  และได้งบประมาณจาก  สปช.  สร้างถังน้ำฝน  แบบ 

ฝ.33  1  ชุด  ราคา  3,500  บาท  พร้อมรางน้ำ

                ปี  พ.ศ.2529  สปช.  ได้ให้งบประมาณติดตั้งกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมตามอาคารเรียน  อาคารบ้านพักครู

                ปี  พ.ศ.2533  สปช.  ได้จัดสรรเงินเพิ่มอัตรานักการภารโรง  1  อัตราและได้บรรจุเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2533  คือนายบุญเหลือ  แก้วน้อย

                ในระหว่าง  พ.ศ.2535-2543  ได้มีผู้บริจาคเงินและสิ่งของ  ซึ่งจัดในลักษณะของผ้าป่าสามัคคี  นำมามอบให้ทางโรงเรียนหลายอย่าง

                ปี  พ.ศ.2545  ทางราชการได้เลื่อนตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนจากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อเดือนมิถุนายน  2545

 

                            

 

เมื่อปี  พ.ศ.2522  ได้แยกวัดอีกหนึ่งวัดเป็นวัดป่าบ้านนาท่ม  นายวินัย  ทวีสุข  เป็นกำนัน  ได้ชักชวนประชาชนชวบ้านนาท่มและหมู่บ้านใกล้เคียงเข้าอบรมวัปัสนากรรมฐาน  เพื่อขัดเกลาจิตใจ  15  วัน  หลังจากนั้นชาวบ้านก็มีใจศรัทธาที่ได้อบรมได้มีการนำปัจจัยเงินทองร่วมกันบริจาคเพื่อซื้อไม้มาทำศาลาวัดโครงการนี้ได้น้ำเข้าที่ประชุมกับกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและกสต.  ให้เป็นที่วิปัสนากรรมฐานของตำบลจากนั้นเป็นต้นมา  ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์และบริจาคตามกำลังศรัทธาเพื่อสร้างวัดขึ้นมาเท่าทุกวันนี้

 

                การพัฒนาหมู่บ้าน

                เมื่อ  พ.ศ.2518  นายวนัย  ทวีสุข  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                        พ.ศ.2524  นายวินัย  ทวีสุข  เป็นกำนันตำบลแตล

                ได้นำมาชิกในหมู่บ้านเข้าอบรม  อ.ป.พ.  และกลุ่มหนึ่งเข้าอบรม  ก.พ.ช.  เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติในหมู่บ้านและแนะนำชาวบ้านให้ปฏิบัติได้ถูกต้องเพื่อเป็นการพัฒนาชุมชน  ได้มีการปรับปรุงถนนทุกสายภายในหมู่บ้านให้ดีขึ้น  และมีการเสนอของบประมาณขุดหนองน้ำใหม่  25  ไร่  ให้มีน้ำใช้สอย  ต่อมามีการเอาปลามาปล่อยและขายบัตรจับปลาทุกปีเอนำเงินมาบำรุงต่อไป

                ได้เสนอของบประมาณขุดหนองสระในเพื่ออุปโภคบริโภค  ได้เสนอของบเพื่อขุดบ่อน้ำประปาในหมู่บ้าน  และบ่อน้ำตื้นอีกหลายแห่ง  ได้เสนอของบมาขุดห้วยแดงกับนายถนอม  ส่งเสริม  นายอำเภอศีขรภูมิ  ปัจจุบันเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  ได้ระยะทางหลายตำบล  แตล  ขวาวใหญ่  หนองขวาว  นารุ่ง  ตรึม  พี่น้องได้น้ำทำการเกษตรทุกวันนี้

                เมื่อ  พ.ศ.2536  ได้งบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขส่วนหนึ่งสร้างสถานีอนามัย  นายวินัย  ทวีสุข  พร้อมภรรยาและบุตรได้มอบที่ดินให้เพื่อสร้างสถานีอนามัยเป็นพื้นที่ทั้งหมด  3  ไร่  และมีผู้ร่วมบริจาคอีกหนึ่งคน  คือนายคูณ  กรวยทอง  บริจาคอีก  1  ไร่  รวมเป็น  4  ไร่  เปิดใช้บริการในวันที่  14  มิถุนายน  2537 

 


 

ประวัติบ้านโนนแคน  หมู่ที่ 9

 

เดิมหมู่บ้านโนนแคนนั้นเป็นที่ราบกว้าง  อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดและต่อมามีผู้อพยพมาพบบริเวณนี้และได้ช่วยกันถางป่าเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย  ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านนาฮังที่อพยพมาอยู่เพราะประชากรในบ้านนาฮังนั้นมีจำนวนมากทำให้มีปัญหาในการทำมาหากิน  จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่    บริเวณนี้  ซึ่งผู้นำคือนายจานเหล็ก  กรวยทอง  ก็ได้สร้างที่อยู่อาศัยไปเรื่อยจนเพียงพอกับผู้ที่อพยพมา  ในระหว่างนั้นชาวบ้านก็ได้เลือกผู้นำมาคนหนึ่งคือนายจานเหล็ก  กรวยทอง  ต่อมาก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านโนนแคน  สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านโนนแคนนั้นเพราะมีต้นไม้ใหญ่  สูงซึ่งชาวบ้านเรียกว่าต้นแคน  และบริเวณนั้นก็เป็นที่ราบสูง  ชาวบ้านก็เลยตั้งชื่อว่าบ้านโนนแคนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

                ประชากรในหมู่บ้านโนนแคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำนา  เลี้ยงสัตว์  และรับจ้างทั่วไป  เนื้อที่ของหมู่บ้านโนนแคนมีประมาณ  300  ไร่  พื้นที่ในการประกอบอาชีพประมาณ  3,300  ไร่  รวมแล้ว  3,600  ไร่  ผู้นำหมู่บ้านคนปัจจุบันคือนายปา  กรวยทอง

 

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านโนนแคน

                1.  นายจานเหล็ก  กรวยทอง  (เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกในการสร้างหมู่บ้านโนนแคน)

                2.  นายมุ่ย  กรวยทอง

                3.  นายปัง  กรวยทอง

                4.  นายแก้ว  กรวยทอง

                5.  นายแผน  เสนาะเสียง

                6.  นายศักดิ์ศรี  กรวยทอง

                7.  นายปา  กรวยทอง

               8. นายภูมิ   มุมทอง

 

ประชากร

                จำนวนครัวเรือน                 200         ครัวเรือน

                จำนวนประชากรชาย        439        คน

จำนวนประชากรหญิง           449     คน

                รวมประชากรทั้งหมด       888        คน

                เนื้อที่ตั้งหมู่บ้าน                  300         ไร่

                เนื้อที่ในการทำการเกษตร  3,300    ไร่

                เนื้อที่ทั้งหมด                       3,600     ไร่

 

 

 

สถานภาพทางเศรษฐกิจ

                ชาวบ้านโนนแคนส่วนมากประกอบอาชีพทำนา  อาชีพรองลงมาคือ  รับจ้างทั่วไป

 

สถานภาพทองด้านสังคม

                การศึกษา

                -  โรงเรียน  (ไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองผือ)

                -  ศาลาประชาคม  (ที่อ่านหนังสือพิมพ์)

                -  วัด

 

การบริการสังคม

                การคมนาคม

                -  ถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน

                -  ถนนหินคลุก

                -  ถนนมูลดิน

                -  ถนนลูกรังเชื่อมหมู่บ้าน

                -  ตู้โทรศัพท์        3  แห่ง

                -  ไฟฟ้า  (เข้าถึงเกือบทุกบ้านเรือน)

               

แหล่งน้ำ

                คลองส่งน้ำ           2  สาย

                หนองน้ำ               3  แห่ง

                บ่อน้ำบาดาล         1  แห่ง

                ประปาหมู่บ้าน    1  แห่ง

 

ระดับการศึกษาของหมู่บ้าน

                -  ชั้นประถม        80%

                -  ชั้นมัธยม          45%

                -  ปริญญาตรี        0.2%

 

ปัญหาด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน

                1.  ขาดทุนในการประกอบชีพ

                2.  พืชผลในการเกษตรราคาตกต่ำ

                3.  ว่างงานหลังฤดูการทำนา

ปัญหาทางด้านการคมนาคม

                -  ถนนสัญจรไปมาไม่สะดวก  และไม่มีการซ่อมแซมเนื่องจากก่อสร้างมานาน

                -  ไม่มีร่องระบายน้ำทำให้เกิดการท่วมขัง

 

ปัญหาด้านแหล่งน้ำ

                -  น้ำไม่ได้มาตรฐาน

                -  น้ำไม่เพียงพอและไม่มีที่กักเก็บน้ำ

 

ลักษณะภูมิประเทศ

                1.  ทิศเหนือติดกับบ้านนาท่ม-หนองผักบุ้ง

                2.  ทิศตะวันออกติดกับบ้านหนองขาม  ตำบลหนองขวาว

                3.  ทิศตะวันตกติดกับบ้านโนนถ่อน

                4.  ทิศใต้ติดกับบ้านหนองผือ  ตำบลช่างปี่

หมู่บ้านโนนแคนอยู่ห่างจากอำเภอศีขรภูมิประมาณ  10  กิโลเมตร

 

กลุ่มร้านค้าชุมชน

 

                ร้านค้าชุมชนก่อตั้งเมื่อวันที่  10  พฤษภาคม  2544  จากทุนสมาชิก  จำนวน  66,900  บาท

 

จุดมุ่งหมายในการดำเนินงาน

                1.  ทำให้ชาวบ้านได้ซื้อของในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด

                2.  เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี

                3.  สมาชิกทุกคนรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด

                4.  เสริมสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกในกลุ่มให้สามารถพึ่งตนเองได้

                5.  ทำให้กลุ่มมี่รายได้

                6.  มีเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม

                7.  สมาชิกในกลุ่มมีการใช้จ่านอย่างประหยัด

 

คณะกรรมการบริหารร้านค้าชุมชน

                1.  นายปา  กรวยทอง         ประธาน

                2.  นายหลง  โกศล             รองประธาน

                3.  นายภูมิ  มุมทอง           เลขานุการ

                4.  นายเสรี  กรวยทอง       เหรัญญิก

                5.  นายอุดม  กรวยทอง     ฝ่ายจัดซื้อ

                6.  นายเทียบ  บุญเติม        ฝ่ายบัญชี

                7.  นายชูชิต  กรวยทอง     ฝ่ายตรวจสอบบัญชี

 

กลุ่มออมทรัพย์

 

                ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2539  สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล  เป็นการอมทรัพย์ซึ่งกฎเกณฑ์ของการออมทรัพย์คือ  เมื่อได้เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์แล้วต้องจ่ายเงินทุกเดือน  เพื่อให้นำเงินเข้าธนาคารเรียกว่าสัจจะ  การเสียสัจจะนั้นแล้วแต่สมาชิกคนใดจะส่ง  ตั้งแต่  10  บาทขึ้นไปต่อเดือน  ส่วนของหุ้นโดยให้สมาชิกระดมหุ้น  ตั้งแต่  100  บาท  ขึ้นไป  เป็น  1  หุ้น  แล้วนำเงินที่สมาชิกระดมหุ้นทั้งหมดไปฝากธนาคาร  เมื่อต้องการถอนให้ประธานดำเนินการโครงการอะไรแล้วถอนมาใช้ตามโครงการนั้นๆ

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้ชาวบ้านหรือสมาชิกกลุ่มได้รู้จักการเก็บออม

                2.  เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดในกลุ่ม

                3.  เพื่อให้สมาชิกรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน

                4.  ให้มีความซื่อสัตย์ต่อกัน

                5.  เพื่อให้มีการเห็นอกเห็นใจกัน

                6.  มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

 

จุดมุ่งหมาย

                -  ทำให้สมาชิกนำเงินในกลุ่มมาสร้างอาชีพเสริมรายได้

 

กรรมการดำเนินงาน

                1.  นายปา  กรวยทอง                         ประธานดำเนินการ

                2.  นายหลง  โกศล                             เหรัญญิก

                3.  นายภูมิ  มุมทอง                           เลขานุการ

                4.  นายนาม  กรวยทอง                     กรรมการ

                5.  นายจันดี  เหลาเลิศ                       กรรมการ

                6.  นายสมาน  ชอบหาร                    กรรการ

                7.  นายทองเรือน  กรวยทอง            กรรมการ

                8.  นายเสริม  บุญเยี่ยม                      กรรมการ

จำนวนสมาชิกทั้งหมด  90  คน

กลุ่มสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์

                ก่อตั้งเมื่อ  พ.ศ.2527

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้ความช่วยเหลือสมาชิกในครัวเรือนที่มีการเสียชีวิต

                2.  เพื่อเป็นทุนในการจัดงานศพของสมาชิกใสครอบครัว

 

จุดมุ่งหมาย

                1.  มีทุนไว้ใช้จ่ายในการจัดงานศพของสมาชิกที่เสียชีวิต

                2.  เพื่อไม่ให้สาชิกต้องกู้ยืมเงินมาจัดงานศพ

                3.  แบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการจัดงาน

 

                กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ประจำหมู่บ้านโนนแคนโดยผู้ใหญ่ปา  กรวยทอง  ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโดยรับเฉพาะสมาชิกในหมู่บ้านโนนแคนเท่านั้นสำหรับผูก้ที่เป็นสมาชิกจะต้องมีอายุตั้งแต่  3  ปีขึ้นไป  ถึงจะได้รับการสงเคราะห์

 


 

ประวัติบ้านโนนถ่อน  หมู่ที่  10

 

                ประมาณปี  พ.ศ.2435  คุณพ่อโทน  แก้วหล้า    คุณพ่อพิมพ์  แก้วหล้า  ได้อพยพมาจากบ้านนาท่ม  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อน  และต่อมามีราษฎรอพยพมาจากบ้านสะแบะ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  มาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกัน  ราษฎรที่อพยพาจากบ้านนาท่มพูดภาษาไทยอีสาน  หรือภาษาลาว  ส่วนราษฎรที่มาจากบ้านสะแบะ  อำเภอสำโรงทาบ  พูดภาษาส่วยหรือภาษากูย  ดังนั้น  ปัจจุบันชาวบ้านโนนถ่อน  จึงมีภาษาพูด  2  ภาษา  ประมาณปี  พ.ศ.2445  ได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรก  คือนาย  พิมพ์  แก้วหล้า  และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านโนนถ่อน 

                ปัจจุบันบ้านโนนถ่อน  หมู่ที่  10  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  1,750  ไร่  เป็นพื้นที่ทำการเกษตร  1,475  ไร่  ที่อยู่อาศัย  275  ไร่  มีประชากรทั้งสิ้น  423  คน  เป็นชาย  204  คน  เป็นหญิง  219  คน  มีสำนักสงฆ์  1  แห่ง  มีโรงเรียนประถม  1  โรง  กลุ่มสร้างอาชีพ  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มจักรสานและกลุ่มทอผ้าไหม  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้

                1.  นายพิมพ์  แก้วหล้า                      ปี  พ.ศ.2445 - 2475

                2.  นายจันทร์  แก้วหล้า                     ปี  พ.ศ.2475 - 2487

                3.  นายแจ้  เจือจันทร์                         ปี  พ.ศ.2487 - 2502

                4.  นายอึ่ง  ศรีแก้ว                              ปี  พ.ศ.2502 - 2509

                5.  นายเฉลิมชัย  วิเศษยา                  ปี  พ.ศ.2509 - 2524

                6.  นายสุบิน  แก้วหล้า                      ปี  พ.ศ.2424 - 2536

                7.  นายสุชีพ  วิเศษยา                        ปี  พ.ศ.2536 2546 

                8. นายกิตติพงษ์    บุญเยี่ยม (คนปัจจุบัน)

 

 

 

กลุ่มจักรสานบ้านโนนถ่อน

 

                กลุ่มจักรสานบ้านโนนถ่อนก่อตั้งเมื่อวันที่  28  มกราคม  2545  โดยประชาชนชาวบ้านโนนถ่อน  มีผู้ที่จักรสานไม้ไผ่ได้  30  คน  ได้รวมกลุ่มโดยขอคำปรึกษาจากอาจารย์อ๊อด  นาคสุข  อาจารย์จาก  ก.ศ.น.  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  และเปิดในวันที่  14  กุภาพันธ์  2545  ได้เรียนเชิญนายวิรุฬ  โล้เจริญ  ผู้อำนวยการ  ก.ศ.น.  อำเภอศึขรภูมิ  มาเป็นประธานในพิธีเปิด

 

หลักการและเหตุผล

                เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา  ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีรายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือน  และนำมาซึ่งความทสามัคคีภายในกลุ่ม

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อจัดตั้งกลุ่มจักรสานขึ้นภายในหมู่บ้าน

                2.  เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มมีรายได้เสริม

                3.  เพื่อให้ชาวบ้านมีงานทำหลังฤดูการเก็บเกี่ยว

 

คณะกรรมการบริหารกลุ่ม

                1.  นายสุชีพ  วิเศษยา                        ประธาน

                2.  นายสำราญ  เซ็นทองหลาง        รองประธาน        

                3.  นายสุพิน  ทวีสุข                           ฝ่ายการเงิน

                4.  นายสมยงค์  สมานทอง               ฝ่ายการเงิน

                5.  นายประดิษฐ์  ดวงจันทร์             ฝ่ายตรวจสอบ

                6.  นายอ๊อด  นาคสุข                          ที่ปรึกษา

 

รายอสมาชิกกลุ่มจักรสานไม้ไผ่บ้านโนนถ่อน

 

                1.  นายสุชีพ  วิเศษยา                        ประธาน

                2.  นายสำราญ  เซ็นทองหลาง        รองประธาน

3.  นายประดิษฐ์  ดวงจันทร์             ผู้ตรวจสอบ

4.  นายชนอง  ธรรมดา                     ผู้ตรวจสอบ

5.  นายสุพิน  ทวีสุข                           การเงิน

6.  นายสมยงค์  สมานทอง               การเงิน

7.  นายวราวุธ  บุญเยี่ยม                    ฝ่ายประสานงาน

8.  นายอ๊อด  นาคสุข                          สมาชิก

9.  นายเกตุ  นนธิจันทร์                    สมาชิก

10.  นายบัวลา  บุญเยี่ยม                   สมาชิก

11.  นายสมยงค์  แก้วหล้า                สมาชิก

12.  นายสิงห์  แก้วหล้า                     สมาชิก

13.  นายสุทร  ภาสดา                        สมาชิก

14.  นายบุญเทียน  เจือจันทร์           สมาชิก

15.  นายสุข  บุตรดีขันธ์                    สมาชิก

16.  นายเหรียญ  แก้วหล้า                                สมาชิก

17.  นายอ้วน  รักมิตร                        สมาชิก

18.  นางโภสา  บุตรดีขันธ์               สมาชิก

19.  นายสุทัศน์  แก้วงาม                  สมาชิก

20.  นายเทพพงษ์  เชิงหอม             สมาชิก

21.  นายกิติพงษ์  บัญเยี่ยม               สมาชิก

22.  นายถวัลย์  วิเศษยา                     สมาชิก

23.  นางสนม  บุญเยี่ยม                    สมาชิก

24.  นายมนิน  แก้วหล้า                    สมาชิก

25.  นายประชิด  พินิจ                      สมาชิก

26.  นายจรวย  แก้วหล้า                    สมาชิก

27.  นายทวี  แป้นเงิน                        สมาชิก

28.  นางผัด  แก้วหล้า                        สมาชิก

29.  นายประมง  มณีคำ                    สมาชิก

30.  นายสุพรรณ  บุตรดีขันธ์           สมาชิก

 

กลุ่มออมทรัพย์บ้านโนนถ่อน

 

                ก่อตั้งกลุ่มเมื่อวันที่  10  มกราคม  2544  มีสมาชิกจำนวน  40  คน  ที่ตั้งกลุ่ม  บ้านเลขที่  40  หมู่ที่  10  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  มีคณะกรรมการดำเนินงาน  15  คน  ปัจจุบันมีเงินออมทั้งสิ้น  43,200  บาท

 

รายชื่อ๕คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์

                1.  นางละอองดาว  พิมพ์จันทร์       ประธานกลุ่ม

                2.  นายสมาน  เจือจันทร์                   รองประธานกลุ่ม               

                3.  นางเสงี่ยม  แก้วหลัก                   เหรัญญิก

                4.  นายเทพพงษ์  เชิงหอม                               เลขานุการ

                5.  นางสมสมัย  พินิจ                        กรรมการ

                6.  นางพนาน  บุตรดางาม               กรรมการ

                7.  นางผัด  แก้วหล้า                          กรรมการ

8.  นางเพียรทอง  สันทาลุไนย์        กรรมการ

                9.  นายเสาร์  ศรีแก้ว                          กรรมการ

                10.  นายพิชัย  เจือจันทร์                   กรรมการ

                11.  นายโสภา  ทองทา                      กรรมการ

                12.  นางสงวน  วิเศษยา                    กรรมการ

13.  นางจวน  บุญเหมาะ                  กรรมการ

                14.  นางสนม  บุญเยี่ยม                    กรรมการ

                15.  นางสาววิไล  ไตรพรม              กรรมการ

 

กิจกรรมการอมมทรัพย์

                กิจกกรมการออมทรัพย์เป็นกิจกกรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกนะงินที่ได้จากการหารายได้ต่างๆ  เช่น  รับจ้าง  ทำงานต่างๆ  การออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประจำวัน  การจำหน่ายผลผลิต  รายได้จากกิจกกรมอาชีพกลุ่มต่างๆ  มาฝากกับกิจกรรมออมทรัพย์

                กิจกรรมนี้สามารถดำเนินการได้ใน  2  ลักษณะ  ดังนี้

                -  การรับฝากเงินจากสมาชิก  จะสนับสนุนให้สมาชิกนำเงินที่หามาได้มาออมไว้  โดยผลประโยชน์ที่เหมาะสม  คือ  การรับฝากเงินจากสมาชิกโดยจัดให้มีเอกสารหลักฐานต่างๆที่จำเป็น  และฝึกให้สมาชิกเป็นคนละเอียดรอบคอบ  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น  จัดให้มีสมุดเงินฝาก  ใบฝาก-ถอน เงิน

                -  การให้สมาชิกกู้เงินไปลงทุน  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้จากการฝึกปฏิบัติจรงในกิจกรรมของกลุ่มหรือจากการทำอาชีพอื่นๆ  โดยให้สมาชิกกู้เงินไปลงทุน  ทั้งนี้ควรให้สมาชิกเสนอรายละเอียดของงานหรือกิจกกรรมที่จำดำเนินการว่าจำทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  โดยมีคณะกรรมการให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน

 

ขั้นตอนละวิธีการดำเนินกิจกกรมการออมทรัพย์

                1.  กำหนดระเบียบว่าด้วยการรับฝากและการถอนเงิน  เงินค่าหุ้น  การปันผลเฉลี่ยคืนและการให้สมาชิกกู้ไปลงทุนอื่นๆตามข้อบังคับของกลุ่ม

                2.  แต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงาน

                3.  รับฝากเงินจากสมาชิก

                4.  พิจารณาให้สมาชิกกู้เงินไปลงทุน

                5.  ปันผลคืน

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักประหยัดและอดออม

                2.  เพื่อฝึกให้สมาชิกมีความซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ

                3.  เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

                4.  เพื่อให้มีความเข้มแข็งในกลุ่ม

                5.  เพื่อให้สมาชิกได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

 

 

กลุ่มร้านค้าชุมชน

 

                ก่อตั้งเมื่อวันที่  3  พฤษภาคม  2544  มีผู้สมาชิกปัจจุบัน  68  คน  มีหุ้น  269  หุ้น  หุ้นละ  100  บาท  มีทุนเรือน  26,900  บาท

 

รายชื่อสมาชิกร้านค้าชุมชนบ้านโนนถ่อน

 

1.  นางละอองดวง  พิมพ์จันทร์                      ประธานกลุ่ม

2.  นายเทพพงษ์  เชิงหอม                                               รองประธานกลุ่ม

3.  นายบุญทัน  แก้วหล้า                                   ตรวจสอบ/ควบคุมสินค้า

4.  นางเสงี่ยม  แก้วหล้า                                    เหรัญญิก

5.  นางสมสมัย  พินิจ                                        เหรัญญิก

6.  นางจันธิมา  ดวงใจดี                                    เลขานุการ

7.  นายวิสาร  พิมพ์จันทร์                                 พนักงานจัดซื้อสินค้า

8.  นางละอองดวง  พิมพ์จันทร์                      พนักงานขาย

9.  นางสาวดวงเดือน  วิเศษยา                         พนักงานบัญชีการขายประจำวัน

10.  นางสาววิไล  ไตรพรม                              พนักงานบัญชีสินค้า

11.  นางบุญเทียน  เพลิดพริ้ง                          พนักงานบัญชีรายเดือน

12.  นางโสภา  บุตรดีขันธ์                               พนักงานประชาสัมพันธ์

 

วิธีดำเนินการ

                -  สำรวจความต้องการในด้านตลาดและร่วมลงทุนในชุมชน

                -  กำหนดพื้นที่ดำเนินการ

                -  เตรียมอุปกรณ์และสถานที่

                -  กำหนดหุ้นและลงทุนร่วมกัน

                -  นิเทศติดตามผล

                -  ประเมินผล

 

วัตถุประสงค์

                -  เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสร้างชีวิตที่ดีด้านการช่วยเหลือตนเอง

                -  เพื่อมีการร่วมมือกันเพื่อดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

                -  เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ  ซึ่งนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

                -  เพื่อจะได้ซื้อสินค้าในราคาที่ยุติธรรม

                -  เพื่อให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

เป้าหมาย

                -  ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านมีโอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกันอันสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องชุมชนเข้มแข็งในวงกว้างขึ้น

 

กฎระเบียบของร้านชุมชน

                1.  สมาชิกถือหุ้นอย่างน้อยคนละ  1  หุ้น  (หุ้นละ  100  บาท)  แต่ไม่เกิน  10  หุ้น

                2.  ค่าธรรมเนียมเข้าเป็นสมาชิก  คนละ  10  บาท

                3.  กรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในวาระคราวละ  1  ปี

                4.  กรรมการบริหารจะต้องประชุมเดือนละ  1  ครั้ง  เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละเดือน

                5.  ประชุมใหญ่สามัญประจำปี  ปีละ  1  ครั้ง

                6.  ใช้เครดิตไม่เกินเงินหุ้นและไม่นานเกิน  1  เดือน

                7.  การหมดสภาพการเป็นสมาชิก

                                7.1  เสียชีวิต

                            7.2  ลาออก  (จะคืนหุ้นให้เป็นสินค้า)

                                7.3  ไม่ชำระหนี้ตามระยะที่กำหนด

 

ประโยชน์

                -  ซื้อชายเป็นธรรม

                -  นำทุนมาให้

                -  ได้ความรู้เพิ่ม

                -  เสริมสร้างสามัคคี

                -  มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน

                -  สร้างสรรชุมชน


ประวัติบ้านบุละลาย  หมู่ที่  11

 

                อดีตนายพุ่ม  เจือจันทร์  และนายสุข  เจือจันทร์  เป็นหัวหน้าชักชวนพี่น้องหลายครอบครัวย้ายมากบ้านแตล  มาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี  พ.ศ.2534  ซึ่งในอดีตที่ตั้งหมู่บ้านไม่มีชื่อ  แต่เมื่อมาอยู่ชาวบ้านได้พบต้นบุมาก (บุ  ภาษาส่วย)  ชาวบ้านจึงนำตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่าบ้านบุละลาย  เลยเรียกมาจนถึงทุกวันนี้

                และได้เลือกนาดี  เจือจันทร์  เป็นผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านมานานหลายปีก็เสียชีวิต  ต่อมาได้เลือกนายชัย  ศรีวิเศษเป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมา  ปกครองชาวบ้านได้ไม่นานนายชัย  ศรีวิเศษก็ลาออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเพราะเห็นว่าตนเองไม่เหมาะสมในการปกครองชาวบ้าน  แล้วชาวบ้านได้เลือกนายโอ  ช่างสง่ามาเป็นผู้ใหญ่แทน  ปกครองชาวบ้านจนกษียณอายุราชการ  ต่อมาได้เลือกนายสุชาติ  พรหมขันธ์มาเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สี่  และคนที่ห้า คือนายจิรพัฒน์   เจือจันทร์ ปกครองชาวบ้านอยู่จนทุกวันนี้    มีชาวบ้านอยู่ในการปกครองจำนวน  140  คน  เป็นชาย  69  คน  เป็นหญิง  71  คน  มีจำนวนบ้านเรือน  34  หลัง

 

ร้านค้าชุมชนบ้านบุละลาย

 

                ร้านค้าบ้านบุละลายได้จัดตั้งมานานหลายปีแล้ว  โดยอาศัยบ้านของสมาชิกเป็นที่ขายสินค้า  ปัจจุบันได้ก่อสร้างร้านค้าเป็นของกลุ่มเอง  เมื่อวันที่  1  มกราคม  2539  ได้รับงบประมาณจากการบริจาคของสมาชิกกลุ่มและกำไรของสินค้าที่ขายเป็นทุนก่อสร้าง  ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น  13  คน

 

ลักษณะของกลุ่มร้านค้า

                1.  สมาชิกถือหุ้นคนละ  500  บาท  เพื่อเป็นเงินทุนในการซื้อสินค้ามาจำหน่าย

                2.  สมาชิกจะเป็นผู้ซื้อและจำหน่ายเอง  โดยอาศัยความสุจริต

 

วัตถุประสงค์

                1.  สมาชิกได้ซื้อสินค้าราคาถูกเพราะเป็นร้านค้าของกลุ่มเอง

                2.  สมาชิกได้เฉลี่ยกำไรคืนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็น  โดยการปันผลแบ่งเป็น  ปีละ  2  ครั้ง

 

 

 

 

 

 

กลุ่มทอผ้าไหม

 

                ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2544  โดยมีสมาชิกกลุ่มจำนวน  22  คน  ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด  26  คน  โดยได้รับเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลแตล  เป็นเงินส่งเสริมอาชีพจำนวน  30,000  บาท  เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายและดำเนินการ

 

ลักษณะของกลุ่ม

                -  สมาชิกได้เลี้ยงไหมแล้วสาวเป็นเส้นไหม  และนำมาทอ

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                2.  เพื่อให้สมาชิกรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1.  สมาชิกมีรายได้เพิ่ม  และเพิ่มความเข้มแข็งในชุมชน

                2.  สมาชิกไม่อพยพไปทำงานที่ต่างจังหวัด

 

 

กลุ่มเลี้ยงโค

 

ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มกราคม  2543  โดยมีสมาชิกครั้งแรกเพียง  22  คน  และได้รับงบประมารสนับสนุนจากรัฐครั้งแรก  100,000  บาท  มาซื้อแม่โคให้สมาชิกเลี้ยง  ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น  30  คน  ปัจจุบันมีโครวมทั้งหมด  218  ตัว

 

ลักษณะของกลุ่ม

                -  กรรมการซื้อแม่โคให้สมาชิกเลี้ยง  แล้วถ่ายโอนแม่โคให้รายอื่นต่อไป

               

หลักการและเหตุผล

                -  เพื่อลดการว่างงาน  เพื่อให้ชาวบ้านมีงานทำหลังฤดูการเก็บเกี่ยว

                -  มูลโคนำมาใช้ฟื้นสภาพดินให้ดีขึ้นลดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                -  เพื่อเพิ่มรายได้ไห้แก่ครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

                -  สมาชิกทุกคนลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมี  เพราะหันมาใช้มูลโคแทน


ประวัติบ้านอายอง  หมู่ที่  12

 

                บ้านอายองแยกมาจากบ้านตากแดด  ตำบลตากูก  อำเภอขวาวสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  โดยคนแรกที่มาบุกเบิกชื่อนายยอง  ได้ทำมาหากินอยู่ใกล้หนองสมอ  (หนองคูเดิม)  อยู่มาไม่นานก็ได้เกิดโรคระบาด  ชาวบ้านในหมู่บ้านเกิดล้มตายกันเป็นจำนวนมาก  ก็เลยอพยพจากบ้านสมอมาอยู่ที่หนองอายอง  ช่วงนั้นนายยองมาอยู่ได้ไม่นาน  นายยองก็ได้เสียชีวิตด้วยโรคชรา  และชาวบ้านได้ยกย่องให้นายยองเป็นบุคคลที่สำคัญของหมู่บ้าน  เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านอายอง  โดยได้แต่ตั้งผู้ใหญ่บ้านดังต่อไปนี้

                1.  นายปูด  อุส่าห์ดี

                2.  นายนนท์  เครือวัลย์

3.  ขุนเค็ท  สงวนศักดิ์

                4.  นายโต๊ะ  เครือวัลย์

                5.  นายมะ  อุส่าห์ดี

                6.  นายคง  เครือวัลย์

                7.  นายโชติ  อุส่าห์ดี

                8.  นายคุง  อุส่าห์ดี

                9.  นายมาโนช์  ปูนเจริญ

                10.  นายคูณ  อุส่าห์ดี

                11.  นายกลัด  เคือวัลย์

                12.  นายบุญเลี้ยง  เครือวัลย์

                13.  นายเปลือน  เครือวัลย์ 

                14.  นายประเสริฐ   สงวนศักดิ์

                 15.  นายสุข   เครือวัลย์ (คนปัจจุบัน)

 

กลุ่มทอผ้าไหม

                 กลุ่มทอผ้าไหมของบ้านอายองหมู่ที่ 12  ก่อตั้งขึ้นด้วยแรงผลักดันและการสนับสนุนของกลุ่มนักศึกษาธาณะสุขของมหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์  2544  สมาชิกที่จะเข้าร่วมกลุ่มทอผ้าไหมจะต้องเสียค่าสมัครคนละ  200  บาท  ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด  39  คน  มีคณะกรรมการดำเนินงานภายในกลุ่มจำนวน  9  คน 

 

 รายชื่อคณะกรรมการ

                1.  นายเทียม  เครือวัลย์                     ประธาน

                2.  นางสุทิศา  อุส่าห์ดี                       รองประธาน

                3.  นางสายนิตย์  วรวัฒน์                  เลขานุการ

                4.  นางสาวบุญทัน  เสาร์ทอง          เหรัญญิก

                5.  นางวาสนา  อุส่าห์ดี                     การตลาด

                6.  นางสำรวย  เครือวัลย์                   ประชาสัมพันธ์

                7.  นางสมร  เครือวัลย์                       ปฏิคม

                8.  นางคำยนต์  เครือวัลย์                  ดูแลทั่วไป

                9.  นางเสมียน  เครือวัลย์                  ดูแลทั่วไป

 

                กลุ่มทอผ้าไหมได้รับการสนับสนุนจากโครงการ  มิยาซาวา  ครั้งแรกเมื่อวันที่  27  มีนาคม  2544  เป็นจำนวนเงิน  40,000  บาท  ซึ่งทางกลุ่มได้นำเงินจำนวนนี้ไปให้สมาชิกภายในกลุ่มกู้ยืม  เพื่อเป็นทุนในการทอผ้า

                โครงการที่  2  ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล  เมือวันที่  4  เมษายน  2545  เป็นจำนวนเงิน  30,000  บาท  ทางกลุ่มได้นำเงินดังกล่าวนี้ไหซื้อกี่กระตุก  จำนวน  4  หลังพร้อมกับอุปกรณ์  ปัจจุบันกี่กระตุกทั้งสี่หลังนี้ทางกลุ่มได้นำมาให้สมาชิกเช้าไปทอผ้าเอง  ซึ่งทางกลุ่มคิดค่าเช่าจากสมาชิกเป็นผืน  ผ้าโสร่ง  ผืนละ  5  บาท  ผ้าสไบ  ผืนละ  3  บาท  ปัจจุบันภายในกลุ่มทอผ้ามีเงินสะสมภายในกลุ่มเป็นจำนวน  15,652  บาท

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มทอผ้าที่ไม่มีกี่กระตุกเป็นของตนเอง  ได้เช่ากี่กระตุกจากกลุ่มไปทอ

                2.  เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เสริมหลังฤดูการทำนา

 

จุดมุ่งหมาย

                1.  เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีงานทำหลังจากหมดฤดูการทำนา 

    2.  เพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถทอผ้าได้เร็วขึ้นกว่าการทอผ้าด้วยกี่พื้นบ้าน

                3.  ทำให้สมาชิกมีความชำนาญในการใช้กี่กระตุกมากขึ้น

                4.  เพื่อให้ลวดลายเป็นที่นิยมในท้องตลาด

 

 

ราชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1.  นางเทียม  เครือวัลย์                                                     9.  นางสำรวย  เครือวัลย์

2.  นางสายนิตย์  วรวัฒน์                                                  10.  นางทองหล่อ  ภาสดา

3.  นางคำยนต์  เครือวัลย์                                                  11.  นางภาพ  ดาศรี

4.  นางสุพัฒตรา  สุขแสวง                                              12.  นางประชิด  เครือวัลย์

5.  นางสงาม  เครือวัลย์                                                     13.  นางมณี  เครือวัลย์

6.  นางพรชนัน  เบญจวรรณ                                           14.  นางสาวนวภรณ์  เครือวัลย์

7.  นางนิตยา  เครือวัลย์                                                     15.  นางบุญมี  อุส่าห์ดี

8.  นางสุทิศา  อุส่าห์ดี                                                       16.  นางสาวบุญทัน  เสาร์ทอง

17.  นางสาวสมบัติ  เครือวัลย์                                          29.  นางคำหวาน  อุส่าห์ดี

18.  นางสาวทองทศ  อุส่าห์ดี                                          30.  นางทองใบ  เครือวัลย์

19.  นางยาน  เครือวัลย์                                                     31.  นางนิ่มนวล  บุญเลิศ

20.  นางสมวิทย์  เครือวัลย์                                               32.  นางวาสนา  อุส่าห์ดี

21.  นางคำสิทธิ์  ดีนาน                                                    33.  นางประภัสสร  มะโนรัตน์

22.  นางเอื้อน  เครือวัลย์                                                   34.  นางมี  เครือวัลย์

23.  นางอุรอม  เครือวัลย์                                                  35.  นางคำเปือย  อุส่าห์ดี

24.  นางเสมียน  เครือวัลย์                                                36.  นางคำยวน  บุญเลิศ

25.  นางแก้ว  เครือวัลย์                                                     37.  นางพันธ์  สงวนศักดิ์

26.  นางจันทร์แรม  อุส่าห์ดี                                            38.  นางสมร  เครือวัลย์

27.  นางเสวย  อุส่าห์ดี                                                      39.  นางคำมี  เครือวัลย์

28.  นางบู  อุส่าห์ดี



 


ประวัติบ้านโนนจารย์  หมู่ที่  13

 เริ่มแรกบ้านโนนจารย์รวมอยู่กับบ้านอาวุธ  หมู่  14  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์ โดยนายผา  สุขตน  เป็นผู้ใหญ่บ้านตนแรกจนอายุครบ  60  ปี  ผู้ใหญ่บ้านคนที่  2  คือนายผิว  ฉิมมาลี การดำเนินชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างยังต้องพึ่งพาอาศัยกันระหว่างบ้านอาวุธและบ้านโนนจารย์  บ้านโนนจารย์อดีตมีเพียง  30  ครัวเรือน  และมีวัดบ้านอาวุธเพียงวัดเดียว  นายดำ  สติมั่น  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่  3  นายบุญมา  แสงนวล  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาแลได้เป็นกำนันของตำบลแตล  มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ  50  ครัวเรือน  นายบุญมา  แสงนวล  เป็นกำนันจนเกษียณอายุราชการ  มีนายบุญสม  เหง่างามเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อจากนายบุญมา  และเริ่มมีประชาการเพิ่มมากขึ้นจนถึง 97  ครัวเรือน ชาย 192  คน  หญิง 209 คน  รวม 399 คน ปัจจุบันนายสุพัฒน์  งามสะอาดเป็นผู้ใหญ่บ้าน  บ้านโนนจารย์มีป่าช้าประมาณ  12  ไร่  ชาบ้านจึงตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

 

กลุ่มส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโค

                 กลุ่มลี้ยงโคดำเนินการโดยการให้ชาวบ้านสมัครเข้าเป็นสมาชิก  ค่าสมัครคนละ  20  บาท  แรกเริ่มทางกลุ่มมีโค  2  ตัว  ซึ่งได้ให้สมาชิกนำไปเลี้ยงปัจจุบันมีโครวม  4  ตัว

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร

               2.  ส่งเสริมให้เกษตรกรทำปุ๋ยอินทรีย์  เพื่อเป็นการสนองนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์

                3.  สมาชิกได้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ

 

แหล่งเงินทุน

                องค์การบริหารส่วนตำบลแตล

   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

จุดมุ่งหมาย

                1.  สมาชิกมีเงินออมเดือนละ  20  บาท

 

วัตถุประสงค์

                1.  ระดมทุนจากสมาชิกเป็นรายเดือน

                2.  เพื่อให้สมาชิกมีแหล่งเงินทุนที่จะสามารถกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

                3.  พัฒนาศักยภาพเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความสามัคคี



ประวัติบ้านอาวุธ  หมู่ที่  14

                 บ้านอาวุธเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งโดยนายแดง  สีดา  ในปี  พ.ศ.2437  สาเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านอาวุธนั้นสืบเนื่องมาจาก  ในครั้งนั้นชาวบ้านที่รวมตัวกันก่อตั้งหมู่บ้านมีอาชีพตีเหล็กเพื่อใช้เป็นอาวุธ  เครื่องมือเพื่อใช้ในการกสิกรรม  เช่น  มีด  ดาบ  จอบ  เสียมชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านอาวุธตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หลักฐานที่พอจะเห็นได้ในปัจจุบันคือ  สระน้ำที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านซึ่งเป็นสระน้ำทีเก่าแก่ที่เลาสืบต่อกันมา  และจากการก่อตั้งหมู่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำหมู่บ้าน  ดังนี้

                1.  นางแดง  สีดา               ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2437  -  ปี  พ.ศ.2460

                2.  นายจุ่น  ร่อนทอง           ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2460  -  ปี  พ.ศ.2472

                3.  นายสูน  คำมี                 ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2472  -  ปี  พ.ศ.2478

                4.  นายอาจ  คล้ายคลึง       ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2478  -  ปี  พ.ศ.2499

                5.  นายเม้า  เอี่ยมสะอาด ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2499  -  ปี  พ.ศ.2503

                6.  นายเปลื้อง  ศิริทรัพย์   ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2503  -  ปี  พ.ศ.2518

                7.  นายประสงค์  ผมน้อย                 ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2518  -  ปี  พ.ศ.2524

                8.  นายบุญจันทร์  สีดา      ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2524  -  ปี  พ.ศ.2544

                9.  นายยืนยง  สีดา             เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

 

กลุ่มเลี้ยงโค

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกภายในกลุ่ม

                2.  เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                3.  เพื่อเน้นให้สมาชิกมีความรับผิดชอบ

                4.  เพื่อให้สมาชิกมีความสามัคคี  เพราะเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม

รายชื่อสมาชิก

                1.  นายยืนยง  สีดา                                                             6.  นายสวัสดิ์  บุญยงค์     

                2.  นายสุเทพ  สมงาม                                                       7.  นายประสิทธิ์  แก่นเกษ

               3.  นายมูล  สีดา                                                                  8.  นายใหญ่  สมงาม

                4.  นายสุณภา  จ่าเพ็ง                                                        9.  นางสุปราณี  สีดา

               5.  นายศรศึก  สืบเพ็ง                                                        10.  นางทองพูน  สีดา

                   

กลุ่มทอผ้าไหม

หลักการและเหตุผล

                จากนโยบายของรัฐบาลการปฏิรูประบบราชการและการกระจายอำนาจ  ทำให้ประชากรระดับรากหญ้ามีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพตามความถนัด  ความสนใจ  และตามทรัพยากรที่มีอยู่  ซึ่งแต่ละชุมชนได้สร้างความมั่นคงให้กับกลุ่ม  สร้างความเจริญให้กับชุมชน

                กลุ่มแม่บ้านอาวุธเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันประกอบอาชีพหลังฤดูการทำนา  ด้วยกาทอผ้าไหม  สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี  ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  แต่วัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้าไหมมีจำนวนจำกัด  งบประมาณในการลงทุนมีไม่พอกับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อเป็นการเพิ่มรายไก้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม

                2.  เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                3.  เพื่อลดการว่างงานของคนในชุมชน

               4.  เพื่ออนุรักษ์การทอผ้าไหมให้คงอยู่

 เป้าหมาย

                1.  กลุ่มแม่บ้านอาวุธ

                2.  บุคคลที่มีความสนใจภายในหมู่บ้าน

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1.  สมาชิกภายในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น

                2.  ลดอัตราการว่างงานองคนในชุมชน

                3.  ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง

      

รายชื่อคณะกรรมการ

               1.  นางคำมูล  สีดา                             ประธานกลุ่ม

               2.  นางสมจิตร  เจือจันทร์(1)            รองประธน

               3.  นางสร้อยทอง  ศรีแก้ว                 เลขานุการ

               4.  นางสำอาง  เอี่ยมสะอาด              เหรัญญิก

                5.  นางสุภาวดี  แก้วสุข                     ประชาสัมพันธ์และการตลาด

                6.  นางสงวน  พิมพ์จันทร์                  กรรมการ

                7.  นางบัวทอง  แก้วบุตรดี                กรรมการ

                8.  นางหอมหวล  คงดี                      กรรมการ

                9.  นางสมร  เจือจันทร์                     กรรมการ

                10.  นางสีดา  สีดา                            กรรมการ

                11.  นางสวัสดิ์  แสงนวล                   กรรมการ

                12.  นางนฤมล  บุญเหมาะ              กรรมการ

                13.  นางคำกอง  ศรีดา                      กรรมการ

                14.  นางเปลี่ยน  ทองลาด                กรรมการ

                15.  นางเครือจิต  ฉิมมาลี                  กรรมการ

                16.  นางทองพูน  ฉิมมาลี                  กรรมการ

               17.  นางจาก  เจือจันทร์                    กรรมการ

                18.  นางสมจิต  เจือจันทร์(2)           กรรมการ

               



ประวัติบ้านโนนแดง  หมู่ที่ 15

                แต่เดิมนายทอง  บุญยง  นายปิง  บุญยง  และนายเปรม  บุญยง  ซึ่งมีหลายครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านประทุนได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านโคกโนนแดงปัจจุบัน  เดิมบ้านโนนแดงนั้นมีต้นไม้แดงเป็นจำนวนมาก  ชาวบ้าจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อต้นไม้ว่าบ้านโนนแดงมาจนถึงปัจจุบัน  เมื่อปี  พ.ศ.2513  ได้มีการตั้งหมู่บ้านใหม่และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกคือนายเที่ยง  มั่นยืน  ได้ปกครองหมู่บ้านเป็นเวลา  2  ปี  จึงลาออกและไดมีการเลือกตั้งใหม่ได้นายทอง  บุญศรีได้รำรงตำแหน่งจนเกษียณ  ต่อมานายเมฆ  มั่นยืน  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมา  และเมื่อปี  พ.ศ.2537  ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่  คือนายประเสริฐ  บุญยงค์  เป็นผู้ใหญ่และผู้ใหญ่คนปัจจุบัน คือ นายคาน  บุญยงค์ บ้านคนปัจจุบัน

กลุ่มออมทรัพย์

                ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2541  ได้รวมกลุ่มออมทรัพย์เข้ากับธนาคารออมสินในวันที่  1  มีนาคม  2543  มีสมาชิกทั้งหมด  31  คน

คณะกรรมการกลุ่ม

                1.  นางสามารถ  บุญยง                     ประธาน

                2.  นางอมรวัฒน์  มั่นยืน                  เหรัญญิก

                3.  นางประกายแก้ว  บุญมั่น            เลขานุการ

               4.  นางสุดใจ  เงางาม                        รองประธาน

                5.  นางยวงแก้ว  บุญยง                     กรรมการ

                6.  นางเลียน  บุญยง                          กรรมการ

                7.  นางประเสริฐ  บุญยง                   กรรมการ

 

คณะกรรมการที่ปรึกษา

                1.  นายทองแม้น  บุญยง

                2.  นายคาน  บุญยง

                3.  นายประเสริฐ  บุญยง

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกมีเงินออมทุกคน

                2.  เพื่อให้สมาชิกมีเงินกู้

                3.  เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการคิดและทำตามวัตถุประสงค์

 จำนวนเงินออมทรัพย์ในแต่ละปี

ปี  พ.ศ.2541        มีเงินออม                              5,600  บาท

ปี  พ.ศ.2542        มีเงินออม                              7,000  บาท

ปี  พ.ศ.2543        มีเงินออม                              7,000  บาท

ปี  พ.ศ.2544        มีเงินออม                              8,400  บาท

ปี  พ.ศ.2545        มีเงินออม                              9,980  บาท

ปี  พ.ศ.2546        เงินออม                                 ได้รับเงินสนับสนุนจากประชาสงเคราะห์  2,000  บาท

จำนวนสมาชิดตั้งแต่ปี  2541 -2546

ปี  พ.ศ.2541        มีสมาชิกทั้งหมด                 31  คน

ปี  พ.ศ.2542        มีสมาชิกทั้งหมด                 35  คน

ปี  พ.ศ.2543        มีสมาชิกทั้งหมด                 35  คน

ปี  พ.ศ.2544        มีสมาชิกทั้งหมด                 43  คน

ปี  พ.ศ.2545        มีสมาชิกทั้งหมด                 44  คน

                                ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด                   44  คน

กลุ่มสตรี

                 ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2534  มีสมาชิก  50  ครัวเรือน  ปัจจุบันมีสมาชิก  64  ครัวเรือน

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการคิดการทำ

                2.  เพื่อให้ประชากรในหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

                3.  เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เสริมหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

 

 


 

ประวัติบ้านอายอง  หมู่ที่  16

                บ้านอายองหมู่ที่  16  ได้แยกออกจากบ้านบ้านอายองหมู่ที่  12  เมื่อประมาณปี  พ.ศ.2517  เมื่อก่อนนี้บ้านอายองมีเพียงหมู่บ้านเดียวคือหมู่ที่  12  จนกระทั่งนายมาโนช  บูรณ์เจริญ  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นได้ทำเรื่องไปที่อำเภอ  เพื่อขอแยกหมู่บ้านและทางอำเภอเห็นว่าบ้านอายองเป็นหมู่บ้านใหญ่  สมควรให้แยกเป็น  2  หมู่  เมื่อปี  พ.ศ.2527  เป็นต้นมา  โดยนายมาโนช  บุรณ์เจริญ  ได้ย้ายตนเองมาปกครองที่หมู่  16  และหมู่ที่  12  ก็ได้มีการเลือกผู้ใหญ่คนใหม่  คือ  นายกลัด  เครือวัลย์

                นายมาโนช  บูรณ์เจริญ  เป็นผู้ใหญ่บ้านจนเกษียณอายุราชการในปี  พ.ศ.2528  ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านที่ปกครองบ้านอายอง   หมู่ที่  16  คือนายจุฬา  อุส่าห์ดี  และผู้ใหญ่บ้านอายองคนปัจจุบัน  คือ นายสมาน  อุส่าห์ดี  บ้านอายองมีวัดอยู่เพียงวัดเดียวที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน คือ วัดสระแก้ว

กลุ่มทอผ้าไหม

จัดตั้งเมื่อวันที่  1  มิถุนายน  2546 

 รายชื่อคณะกรรมการและสมาชิก  ทั้งสิ้น  37  คน  ดังนี้

                1.  นางสวัสดิ์  บุญกอง                      ประธานกลุ่ม

                2.  นางนุกูล  เครือวัลย์                      รองประธานกลุ่ม

                3.  นางสาวบุญเรือง  เครือวัลย์        เลขานุการ

                4.  นางจันทร์เลย  เครือวัลย์              กรรมการ

               5.  นางมวย  อุส่าห์ดี                          กรรมการ

             6.  นางบุญมี  เจริญยิ่ง                       กรรมการ

                7.  นางทุเรียน  อุส่าห์ดี                     กรรมการ

                8.  นางทองม้วน  อุส่าห์ดี                 กรรมการ

                9.  นางคำเพียร  อุส่าห์ดี                    สมาชิก

                10.  นางเฮียม  อุส่าห์ดี                      สมาชิก

                11.  นางดา  อุส่าห์ดี                           สมาชิก

               12.  นางทอคำ  อุส่าห์ดี                     สมาชิก

                13.  นางละออง  อุส่าห์ดี                  สมาชิก

                14.  นางวอน  อุส่าห์ดี                       สมาชิก

                15.  นางแตม  ชาวสวน                     สมาชิก

                16.  นางพอไล  บุญกอง                    สมาชิก

                17.  นางวนิตยา  บุญกอง                  สมาชิก

                18.  นางเอี้ยง  อุส่าห์ดี                       สมาชิก

19.  นางคำนาง  อุสาสห์ดี                      สมาชิก

                20.  นางยิน  อุส่าห์ดี                          สมาชิก

                21.  นางประภัส  อุส่าห์ดี                 สมาชิก

               22.  นางสมหวัง    อุส่าห์ดี               สมาชิก

                23.  นางสาวนิตยา  ตั้งจึงเจริญ       สมาชิก

               24.  นางอำไพ    อุส่าห์ดี                  สมาชิก

                25.  นาวงบัวคำ    อุส่าห์ดี                สมาชิก

               26.  นางดวงใจ  อุสาห์ดี                   สมาชิก

                27.  นางมะลิ  อุส่าห์ดี                       สมาชิก

                28.  นางคำพลาย  อุส่าห์ดี                สมาชิก

               29.  นางมะลิ  อุส่าห์ดี                       สมาชิก

                30.  นางน้อย  เครือวัลย์                    สมาชิก

                31.  นางทองเย็น  เครือวัลย์              สมาชิก

                32.  นางขวัญจิต  อุส่าห์ดี                                 สมาชิก

                33.  นางวิมล  อุส่าห์ดี                       สมาชิก

                34.  นางดวงพร  อุส่าห์ดี                  สมาชิก

                35.  นางจันทา  อุส่าห์ดี                     สมาชิก

                36.  นางนุชจรี  ดาศรี                        สมาชิก

                37.  นางโสภา  อุส่าห์ดี                     สมาชิก

  

สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมหมู่  16  มีจำนวน  37  คน  มีทั้งที่ทอด้วยมือและกี่กระตุก

                ทอด้วยกี่กระตุก   จำนวน                   6  คน

                ทอด้วยมือ             จำนวน               31  คน

                ทั้งนี้ทางกลุ่มได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแตล  เป็นจำนวนเงิน  35,000  บาท  และ๕ระกรรมการได้ลงมติที่จะจัดสรรปันส่วนให้สมาชิกนำไปซื้อไหมนำมาทอผ้าทั่งทอด้วยมือและทอด้วยกี่กระตุก  คนละ  1,000  บาท  ทางกลุ่มจะมีการประเมินผลรายรับ  รายจ่ายของกลุ่มทุกๆ  3  เดือน  เนื่องจากทางกลุ่มยังขาดโรงเรือนและอุปกรณ์ในการรวมกลุ่มการทำงาน  สมาชิกจึงได้เสนอโครงการเพื่อของบประมาณในการสนับสนุนในการซื้ออุปกรณ์ในการทอผ้าไหมด้วยกี่กระตุกเพื่อความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 


 

ประวัติบ้านกระโพธิ์  หมู่ที่ 17

                บ้านกระโพธิ์อดีตได้ขึ้นกับบ้านแตลหมู่1  ต่อมาในปี  พ.ศ.2517  บ้านกระโพธิ์ได้แยกออกจากบ้านแตลหมู่  1  มาเป็นหมู่  17  ในปี  พ.ศ.2517  โดยในสมัยนั้นนายมา  สมหวังเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้าน

                บ้านกระโพธิ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านแตล  คนแรกที่ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านกระโพธิ์คือ  นายอินทร์  พิมพ์จันทร์  และต่อมาก็มีคนอื่นๆตามมาด้วย  ปัจจุบันมีครัวเรือน  68 หลัง  มีประชากรทั้งหมดจำนวน  299  คน  เป็นหญิง  145  คน  ชาย  154  คน 

 กลุ่มทอผ้าไหมและดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าบ้านกระโพธิ์

                 จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่  25  เมษายน  2545  มีสมาชิกจำนวน  20  คน

 วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้มีการรวมกลุ่ม

                2.  เพื่อให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น

                3.  เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

               4.  เพื่อให้ไม่ต้องมีปัญหาการอพยพไปทำงานต่างถิ่น

                5.  เพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบในหมู่บ้านให้เป็นประโยชน์

จุดดมุ่งหมาย

                -  เพื่อให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กลุ่มออมทรัพย์

                   จัดตั้งเมื่อวันที่  5  ตุลาคม  2538  มีสมาชิกจำนวน  25  คน  ปัจจุบันมรสมาชิกเพิ่มขึ้นเปป้น  31  คน

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกมีการเก็บออม

               2.  เพื่อให้สมาชิกรู้จักประหยัด

                3.  เพื่อให้สมาชิกมีความรับผิดชอบ

จุดมุ่งหมาย

                -  หาแหล่งเงินทุน  เพื่อมาประกอบอาชีพเสริม

กลุ่มร้านค้าชุมชน

                 จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2535  แรกเริ่มมีสมาชิก  22  คนแต่ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น  51  คน

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกมีการรวมกลุ่ม

                2.  เพื่อให้สมาชิกมีความสามัคคีกัน

                3.  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้าน

                4.  เพื่อให้มีการระดมหุ้นมาเป็นทุนในการซื้อสินค้ามาจำหน่ายให้กับสมาชิกหรือชาวบ้าน

จุดมุ่งหมาย

                -  เพื่อให้มีการปันผลกำไรคืนให้กับสมาชิก

 

 


 

ประวัติบ้านหนองขวาง  หมู่ที่ 18

                 บ้านหนองขวางเริ่มก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2440  หรือเมื่อ  104  ปีมาแล้ว  เดิมที่ดินแห่งนี้เป็นที่ราบ  มีหนองน้ำอยู่กลางหมู่บ้านเหมาะแก่การเพาะปลูก  ปี  พ.ศ.2440  มีราษฎรชาวกูยจากบ้านแตลชื่อว่านายอุ่น  เจือจันทร์  ได้อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัวแรก  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.2445  นายเดีย  เจือจันทร์  ได้ย้ายจากบ้านแตลมาอยู่ที่บ้านหนองขวางเป็นครอบครัวที่สอง  ได้ประกอบอาชีพทำมาหากินและมีลูกหลานอาศัยอยู่บริเวณนี้มาจนถึงปัจจุบัน  เดิมบ้านหนองขวางขึ้นกับบ้านแตลและได้แยกออกจากบ้านแตลเมื่อปี  พ.ศ.2517  และในขณะนั้นมีนายเลีย  เจือจันทร์เป็นผู้ใหญ่บ้าน  และตั้งชื่อของหนองน้ำกลางหมู่บ้านเพื่อความเป็นศิริมงคล  โดยตั้งชื่อว่า  หนองขวางและปัจจุบันมีนายประชา  กรวยทอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                ปัจจุบันบ้านหนองขวางมีครัวเรือนจำนวน  72 ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด  288 คน  เป็นชาย  140 คน  เป็นหญิง  148  คน

 

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

                1.  ถนนภายในหมู่บ้านมีความยาวประมาณ  1215  เมตร

                2.  ระบบไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้านเมื่อปี  พ.ศ.2524  ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

                3.  ระบบประปาเป็นระบบประปาใต้ดิน  สร้างเมื่อ  พ.ศ.2538

 การประกอบอาชีพ

                1.  ผู้ที่มีอาชีพทำนาและมีที่ดินเป็นของตนเอง  จำนวน  56  ครอบครัว  คิดเป็นร้อยละ  93.3  ของครัวเรือนทั้งหมด

                2.  ผู้ที่มีอาชีพทำนาแต่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองจำนวน  4  ครอบรัว  คิดเป็นร้อยละ  6.7  ของครัวเรือนทั้งหมด

                3.  ผู้ที่มีอาชีทำนาและรับจ้างชั่วคราว จำนวน  53  ครอบครัว  คิดเป็นร้อยละ  88.9  ของครัวเรือนทั้งหมด

                4.  ผู้ที่มีอาชีทำนาและค้าขาย จำนวน  53  ครอบครัว  คิดเป็นร้อยละ  88.9  ของครัวเรือนทั้งหมด

                5.  ผู้ที่มีรับราชการ จำนวน  3  ครอบครัว  คิดเป็นร้อยละ  5  ของครัวเรือนทั้งหมด

เศรษฐกิจของหมู่บ้าน

ภาวะการมีหนี้สินของราษฎรในหมู่บ้าน

                เป็นหนี้ธนาคาร  ธ.ก.ส.  จำนวน  37  ครอบครัว  เป็นเงินประมาณ  753,000  บาท

                เป็นหนี้นายทุน  จำนวน  30  ครอบครัว  เป็นเงินประมาณ  1,014,000  บาท

                เป็นหนี้กองทุนหมู่บ้าน  จำนวน  53  ครัวเรือน  เป็นเงิน  951,000  บาท

                                                รวมทั้งสิ้น  2,718,000  บาท

รายได้จากการผลิตของราษฎรในหมู่บ้าน

                ผลผลิตจากการทำนาปีละประมาณ  1,142,400  บาท

                รายได้จากการเลี้ยงสัตว์ปีละประมาณ  61,066  บาท

                รายได้จากผู้ที่มีอาชีพรับราชการปีละประมาณ  120,000  บาท

                รายได้จากผู้ที่มีอาชีพรับจ้างปีละประมาณ  150,000  บาท

                รายได้จากผู้ที่มีอาชีพเสริม  (ทอผ้า)ปีละประมาณ  95,000  บาท

                                                รวมทั้งสิ้น  1,568,466  บาท

ด้านวัฒนธรรมประเพณี

                ภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในหมู่บ้านหนองขวาง  คือภาษากูย  การเคารพนับถือหรือให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส  ยังคงปฏิบัติกันในหมูบ้าน  วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและปฏิบัติสืบเนื่องติดต่อกันมาทุกปี  คือ

                1.  ประเพณีวันขึ้นปีใหม่  ในวันที่  1  มกราคม  ของทุกๆปี

                2.  ประเพณีการทำบุญขวัญข้าว  ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ไม่มีกำหนดวันที่แน่นอน

                3.  ประเพณีวันสงกรานต์  ในช่วงวันที่  12 16  เมษายน  ของทุกปี

                4.  ประเพณีสวดมนต์ประจำหมู่บ้าน  ในช่วงเดือน  มิถุนายน  ของทุกปี

               5.  ประเพณีเซ่นปู่เจ้าประจำหมู่บ้าน  ในช่วงเดือน  พฤษภาคม  ของทุกปี

                6.  ประเพณีวันเข้าพรรษา  ในช่วงเดือน  กรกฎาคม  ของทุกปี

               7.  ประเพณีวันออกพรรษา  ในช่วงเดือน  ตุลาคม  ของทุกปี

                8.  ประเพณีทอดกฐิน  ในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน  ของทุกปี

                9.  ประเพณีลอยกระทง  ในช่วงเดือน พฤศจิกายน  ของทุกปี

                10.  ประเพณีส่งท้ายปีเก่า  ต้อนรับปีใหม่

                นอกจากนี้ในวันธรรมสวนะหรือวันสำคัญทางศาสนา  เช่น  วันมาฆะบูชา  วันวิสาขะบูชา  วันอาสาฬหบูชา  ชาวบ้านก็จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดบ้านสวาย  และจะมีวันพัฒนาหมู่บ้าน  ซึ่งไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอน  แต่จะถือเอาความพร้อมของทุกคนในหมู่บ้าน

ด้านการศึกษา

               บ้านหนองขวางเป็นชุมชนขนาดเล็ก  จำนวนประชากรที่น้อยจึงไม่มีโรงเรียนหรือสถานศึกษาอื่นใดในหมู่บ้าน  เด็กๆในหมู่บ้าจึงจำเป็นจะต้องไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียง  จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่  มีรายละเอียดดังนี้

                ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6        จำนวน   28  คน   โรงเรียนบ้านสวาย

                ระดับชั้นมัธยม                                   จำนวน   10  คน   โรงเรียนแตลศิริวิทยา

               อนุปริญญา/ปริญญาตรี                      จำนวน   7  คน     สถาบันราชภัฏสุรินทร์

แหล่งน้ำของหมู่บ้าน

                 แหล่งน้ำของบ้านหนองขวางมี  2  แห่งคือ  หนองขวาง  และหนองเป็ด

จุดเด่น  เนื่องจากเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  จึงมีน้ำมากเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค  และยังมีน้ำเอาไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคจำนวน  60  ครัวเรือน

                จุดด้อย  น้ำขุ่นใช้บริโภคไม่ได้  ไม่มีรั้วป้องกันสัตว์ให้ลงดื่ม

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

                บ้าหนองขวางเป็นหมู่บ้านทีมีภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งมีบุคคลที่เป็นผู้รู้และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  คือ

                1.  นายมา  โองอินทร์  อายุ  78  ปี  เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

                2.  นายสุวรรณ  สีดา  อายุ  63  ปี  เชี่ยวชาญด้านการนวด  เป่ารักษาอาการกระดูก  เคล็ด

                3.  นายแก้ว  ศรีแก้ว  อายุ  63  ปี  เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมทางศาสนา  และพิธีพราหมณ์

                4.  นายอยู่  ศรีแก้ว  อายุ  47  ปี  เชี่ยวชาญดานเกษตรผสมผสาน

 

 


ประวัติบ้านหนองผักบุ้ง  หมู่ที่ 19

                 บ้านหนองผักบุ้ง  เดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกับบ้านนาท่มหมู่ที่  8  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ในปี  พ.ศ.2522  บ้านนาท่มได้แบ่งหมู่บ้านออกเป็น  2  หมู่  คือ  บ้านนาท่มหมู่ที่  8  และบ้านหนองผักบุ้งหมู่ที่  19  และในปี  พ.ศ.2523  มีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านหนองผักบุ้งโดยใช้ชื่อหนองน้ำสาธารณะเก่าแก่ของหมู่บ้านคือ  หนองผักบุ้งมาเป็นชื่อหมู่บ้าน

รายชื่อของผู้นำหมู่บ้าน

                1.  นายเย็น  บุญเหมาะ                     ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2522-2524            

                2.  นายธรศักดิ์  บุญเหมาะ               ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2524-2536

                3.  นายเย็ย  บุญเหมาะ                      ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2536-2541

                4.  นายสุวรรณ  บุญเยี่ยม                  ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2541-

                5.  นายประโบชน์   มีอยู่                    ปัจจุบัน

 

บ้านหนองผักบุ้งมีประชากรทั้งสิ้น         438  คน

เป็นชาย                                                                 208        คน

เป็นหญิง                                                               230        คน

บ้านหนองผักบุ้งมี                                              107       ครัวเรือน

มีเนื้อที่ทำการเกษตร                                           1,116     ไร่

ที่อยู่อาศัย                                                              65           ไร่

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี                                       14209    บาท/คน

รายได้รวม                                                             5,768,8870  บาท

 

กลุ่มเลี้ยงโคพื้นเมือง

                กลุ่มเลี้ยงโคพื้นเมืองเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่  20  พฤษภาคม  2546  ได้รับสมาชิกครั้งแรกจำนวน  10  คน  ได้ประชุมกลุ่มและกลุ่มมีมติว่า  ควรตั้งกลุ่มเพื่อเป็นการเสริมอาชีพให้กลุ่มมีรายได้เสริมให้กับครอบครัว  เพื่อไม่ให้เกิดการว่างงานหลังฤดูการทำนา  และทางกลุ่มได้เสียสละเงินคนละ  100  บาท  เพื่อเป็นทุนของกลุ่มและได้รับสมาชิกเพิ่มอีก  20  คน  รวมมีสมาชิกทั้งสิ้น  30  คน  จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณและเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแตล  ครั้งแรกทางองค์การบริหารส่วนตำบลแตลได้จัดสรรงบสนับสนุนให้  50,000  บาท  ทางกลุ่มได้ประชุมสมาชิกเพื่อมีมติให้นำเงินจำนวนนี้แบ่งให้กับสมาชิกทุกคน  จำนวน  10  คนแรก  คนละ  5,000  บาท  เพื่อจัดซื้อเมื่อพันธ์โคพื้นเมืองมาเลี้ยง  ขณะนี้ได้โคมาเลี้ยงจำนวน  10  ตัว

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเลี้ยงโค

1.  นายธีรศักดิ์  บุญเหมาะ                               ประธานกลุ่ม

2.  นายทัน  ศรีแก้ว                                            รองประธนกลุ่ม

3.  นายรวน  จันทร์จำรัส                                   เลขานุการ

4.  นายจวน  จันทร์จำรัส                                   กรรมการ

5.  นายอ่อนจันทร์  บุญปก                               กรรมการ

6.  นางเอื่อม  แก้วหล้า                                      กรรมการ

7.  นางนุชจรี  บุญเยี่ยม                                     กรรมการ

8.  นางนกเอี้ยง  ศรีแก้ว                                    กรรมการ

9.  นางรัศมี  บุญเหมาะ                                    กรรมการ

10.  นางบุญเหลือ  มุมทอง                              กรรมการ

11.  นางสมจิต  บุญเหมาะ                               สมาชิก

12.  นางลำดวน  บุญเหมาะ                             สมาชิก

13.  นางสวัสดิ์  บุญเหมาะ                               สมาชิก

14.  นางชลลักษณ์  บุญยง                                                สมาชิก

15.  นางสมจิตร  ศรีแก้ว                                   สมาชิก

16.  นางส้มลิ้ม  บุญเยี่ยม                                  สมาชิก

17.  นางสมควร  เงางาม                                   สมาชิก

18.  นางละออง  มุมทอง                                  สมาชิก

19.  นางหนูเรียม  บุญเหมาะ                          สมาชิก

20.  นายประจวบ  บุญเยี่ยม                              สมาชิก

21.  นายวิเชียร  บุญเหมาะ                               สมาชิก

22.  นายชี  ดวงศรี                                              สมาชิก

23.  นายบุญร่วม  มุมทอง                                 สมาชิก

24.  นางสำเนียง  บุญเยี่ยม                               สมาชิก

25.  นางกึม  บุญเหมาะ                                    สมาชิก

26.  นางจวน  ถาวรสุข                                      สมาชิก

27.  นางอุไรวรรณ  มั่นยืน                               สมาชิก

28.  นายวิเชียร  สีดา                                          สมาชิก

29.  นางพิกุล  วุฒิยา                                          สมาชิก

30.  นางเอี้ยง  บุญเหมาะ                                 สมาชิก

 

กลุ่มทอผ้าไหมด้วยกี่กระตุก

 ประวัติ

                กลุ่มทอผ้าไหมด้วยกี่กระตุกบ้านหนองผักบุ้ง  จัดตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2542  โดยการรวมกลุ่มของแม่บ้าน  และได้เสนอโครงการไปยังสำนักงานพัฒนาอุสาหกรรมและหัตถกรรมในครอบครัว  กรมส่งเสริมอุสาหรรมและได้นำงบประมาณไปสร้างกี่กระตุกและอุกรณ์ในกาทอผ้าต่างๆ  โดยมีวิยาการจากกรมฯลงมาฝึกอบรมโดยตรง  โดยมรกลุ่มพ่อบ้าน  แม่บ้านร่วมกันทำ  จนปัจจุบันในกลุ่มมีกี่กระตุกทั้งหมด  13  หลัง  อุปกรณ์ในการค้นไหมและม้วนไหม  2  ชุด  และอุปกรณ์อื่นๆ               หลังจากสร้างกี่กระตุกเสร็จแล้วก็ได้มีคณะวิทยาการจากกรมฯ  ไดมาฝึกสอนการทอผาโดยแยกออกเป็น  3  หลักสูตร

                1.  หลักสูตรการทอผ้าด้วยกี่กระตุกขึ้นพื้นฐาน  ใช้เวลาฝึกอบรม  30  วัน  โดยใช้งบประมาณของกรม

                2.  หลักสูตรการทอผ้าเพิ่มทักษะ  หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมและปฏิบัติการทอผ้า  ตั้งแต่  2  ตะกอ  จนถึง  12  ตะกอ  และเรื่องผ้ายกดอกลายต่างๆ  จนสามารถปฏิบัติได้  ใช้เวลาในการอบรม  45  วัน  ใช้งบประมาณของกรม

                3.  หลักสูตรการทอผ้าขั้นสูงสุดและการทอผ้าไหมมัดหมี่  หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้เรื่องต่างๆของ  2  หลักสูตร  และเรื่องของสีธรรมชาติ  และเรื่องการตลาด  หลักสูตรนี้ใช้เวลาในการฝึกอบรม  45  วัน  โดยใช้งบของกรม

 จุดมุ่งหมายของกลุ่ม

                1.  เพื่อให้กลุ่มสตรีและชุมชนใช้เวลาว่างหลังฤดูการทำนาให้เกิดประโยชน์

                2.  เพื่อให้กลุ่มสตรีและชุมชนมีรายได้เสริมจากอาชีพหลัก

                3.  เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของสตรีให้มีความเข้มแข็ง  และเกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและชุมชน

                4.  เพื่อให้กลุ่มสตรีมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน  และรู้จักแก้ปัญหา

 ผู้รับผิดชอบโครงการ

                1.  คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มสตรีบ้านหนองผักบุ้ง

                2.  สำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์

               3.  สำนักงานพัฒนาอุสาหรรมและหัตถกรรมในครัวเรือน

  

โครงการทอผ้า  ปลูกหม่อน  เลี้ยงไหม

1.  หลักการและเหตุผล

                ผ้าไหมเป็นผลิภัณฑ์หนึ่งที่สำคัญจากหลายผลิตภัณฑ์ของชาวจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งมีความสวยงามและมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะกล่าวคือมีความละเอียด  ใยผ้ามีลักษณะอ่อนนุ่มเหมาะแก่การสวมใส่  และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายของบุคคลทั่วไป  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ปัจจุบันการผลิตเส้นไหมและการทอผ้าไหมส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของอุตสาหกรรม  ซึ่งต้องลงทุนสูงในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และกลังคนในการผลิต

                การรวมกลุ่มทอผ้า  ปลูกหม่อน  เลี้ยงไหมของกลุ่มหนองเป็ดจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ที่จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในอันที่จะประกอบกิจกรรมการทอผ้า  ปลูกหม่อน  และเลี้ยงไหมดังกล่าวสำเร็จตามเป้าหมาย

2.  จุดประสงค์

                1.  เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มมีความรู้และประสบการณ์ในการทอผ้า  ปลูกหม่อน  และเลี้ยงไหม

                2.  เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                3.  เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำนา

                4.  เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล  หนึ่งผลิตภัณฑ์  หนึ่งตำบล

                5.  เพื่อปลูกจิตสำนึกในการรวมกลุ่มสารประโยชน์และการใช้ระบบพึ่งพากันและกัน

3.  เป้าหมาย

                ด้านปริมาณ

                                1.  กลุ่มมีใบหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมให้กับสมาชิกของกลุ่มอย่างเพียงพอ

                                2.  กลุ่มมีโรงเรือน  และอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหมอย่างน้อย  5  โรง

                                3.  กลุ่มมีรายได้จากการจำหน่ายเส้นไหมและผ้าไหม  และผ้าไหมไม่น้อยกว่า  6,000  บาทต่อเดือน

                ด้านคุณภาพ

                                1.  กลุ่มสามารถผลิตเส้นไหมและผ้าไหมสู่ท้องตลาดและผู้อุปโภคอย่างต่อเนื่อง

                                2.  สมาชิกกลุ่ม/ได้ประสบการณ์ในการปลูกหม่อน  เลี้ยงไหมและทอผ้าที่มีคุณภาพตามหลักวิชาการ

                                3.  สมาชิกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4.  สถานที่ดำเนินการ

                ที่ทำการกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  เลขที่  134  หมู่ที่  18  ตำบลแตล  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

 5.  ระยะเวลาดำเนินการ

                เดือนกุมภาพันธ์  2545  เป็นต้นไป

 6.  กิจกรรมและวิธีดำเนินการ

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

1

สำรวจความต้องการ

มกราคม  2545

นางสุดารัตน์  เจือจันทร์

 

2

เปิดรับสมัครสมาชิกกลุ่ม

กุมภาพันธ์  2545

นางสุดารัตน์  เจือจันทร์

นางวิรยะ  พิมพ์จันทร์

 

3

แต่งตั้งคณะกรรมการ

กุมภาพันธ์  2545

นางวิรยะ  พิมพ์จันทร์

 

 

4

ระดมเงินทุน

มีนาคม  2546

นางวิรยะ  พิมพ์จันทร์

นายธีรวัฒน์  เจือจันทร์

นายสุทธินัน  เค้ากล้า

 

5

ดำเนินการตามโครงการ

เมษายน  2545  เป็นต้นไป

สมาชิกที่ได้รับมอบหมาย

 

6

กำกับ  ติดตามผล

ทุกวันที่  5  ของเดือน

นางวิรยะ  พิมพ์จันทร์

นางแป้ง  เจือจันทร์

 

7

สรุปผล และรายงานผล

ทุกวันที่  5  ของเดือน

นางวิรยะ  พิมพ์จันทร์

นายธีรวัฒน์  เจือจันทร์

นายสุทธินัน  เค้ากล้า

 

 

7.  ค่าใช้จ่าย

รายการใช้จ่าย

เงินหุ้น

งบประมาณสนับสนุน

รวม

หมายเหตุ

1.  เตรียมพื้นที่ปลูกหม่อน

2.  จัดหาพันธ์หม่อน

3.  ปุ๋ย

4.  เครื่องสูบน้ำ

5.  ท่อ P.V.C. และสายส่งน้ำ

6.  โรงเรือนเลี้ยงไหม

7.  วุสดุอุปกรณ์การเลี้ยงไหม

7,000

1,500

-

2,000

12,000

12,000

8,000

126,150

115,000

7,000

35,000

12,000

12,000

8,000

126,150

115,000

 

รวม

85,000

275,150

283,650

 

งบประมาณทั้งสิ้น  283,650  บาท

8.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                1.  สำนักงานเกษตรอำเภอศีขรภูมิ

                2.  พัฒนาการอำเภอศีขรภูมิ

                3.  สำนักงานเกษตรอำเภอศีขรภูมิ

                4.  สถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์

                5ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

9.  การติดตามและประเมินผล

                1.  การควบคุมการดำเนินงานแต่ละระยะของโครงการ

            2.  ประเมินผล  และรายงานผล

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1.  สมาชิกของกลุ่มมีรายได้จากอาชีพเสริมนอกจากการทำนา

                2.  สมาชิกของกลุ่มมีรายได้เพิ่ม

                3.  สมาชิกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                4.  สมาชิกมีแปลงปลูกหม่อนคนละ  1  แปลง

                5.  สมาชิกมีโรงเรือนเลี้ยงตัวไหมคนละ  1  โรง

                6.  มีเส้นไหมและผ้าไหมออกสู่ท้องตลาดและผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง

               


ประวัติบ้านหนองดุม  หมู่ที่ 20

                 บ้านหนองดุมตั้งตามชื่อของนายดุม  ผู้ที่มาตั้งรกรากเป็นคนแรก  เมื่อปี  พ.ศ.2466  โดยรุ่นแรกที่บุกเบิกมาตั้งรกรากบ้านหนองดุมคือ  คุณยายยิด  เจือจันทร์  คุณยายเภา  เจือจันทร์  คุณตาอูง  วงเวียน  คุณตาแคะ  ศรีวิเศษ  และคุณตาเขียน  ศรีวิเศษ  ซึ่งเดิมบ้านหนองดุมขึ้นกับบ้านแตล  หมู่ที่  1  ซึ่งมีผู้ปกครองหมู่บ้าน  ดังนี้

                1.  นายเขียน  ศรีวิเศษ

                2.  นายเพชร  เจือจนทร์

                3.  นายแล  เจือจันทร์

                4.  นายคำสิงห์  เจือจันทร์

                5.  นายยืน  บูรณะ

                เมื่อปี  พ.ศ.2530  บ้านหนองดุมได้แยกการปกครองออกจากบ้านแตล  เป็นหมู่ที่  20  ซึ่งมีผู้ปกครองบ้านหนองดุม  คือ

                1.  นายยืน  บูรณะ                              ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2530-2545

                2.  นายบุญชอบ  เจือจันทร์               ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.25453.

                                  3. นายวิโรจน์   เจือจันทร์    คนปัจจุบัน

                ปัจจุบันบ้านหนองดุมมีประชากรจำนวน   207 คน  มี  50 หลังคาเรือน  อาชีพหลักคือ  ทำนา  รองลงมาคือ  รับจ้าง  มีข้าราชการ  11  คน

กลุ่มอาชีพ  กองทุนในบ้านหนองดุม

ชื่อกลุ่ม กองทุน

วัตถุประสงค์

จุดมุ่งหมาย

จำนวนสมาชิก

จำนวนเงิน(บาท)

หมายเหตุ

1. กองทุนสวัสดิการหมู่บ้าน

1. เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิก

2. สมาชิกสามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

3. เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน

 

43 คน

เริ่มต้นเมื่อปี 2517 ด้วยเงิน 1,500 บาทปัจจุบัน 300,000

 

2. กองทุนโต๊ะ เก้าอี้

1. เพื่อบริการสมาชิกภายในหมู่บ้าน

2. เพื่อให้หมู่บ้านอื่นๆเช่า

3. เพื่อนำเงินที่ได้มาพัฒนาศาลาประชาคม

สมาชิกภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน

43 หลังคา

เริ่มต้นด้วยเงิน 2,500 บาทปัจจุบัน 5,000 บาท

 

 

 

 

ชื่อกลุ่ม กองทุน

วัตถุประสงค์

จุดมุ่งหมาย

จำนวนสมาชิก

จำนวนเงิน(บาท)

หมายเหตุ

3. ศูนย์สาธิตร้านค้าชุมชนบ้านหนองดุม

1. เพื่อให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้

2. เพื่อรวมกลุ่มและความสามัคคี

3. เพื่อพัฒนาสังคม

4. จัดสรรกำไรให้กับสมาชิก

สมาชิกภายในหมู่บ้านและนอกเขตบริการ

90 คน

เริ่มต้นด้วยเงิน 100,000 บาทปัจจุบัน 4,400 บาท

 

4. กองทุนเงินล้าน

1. เพื่อให้สมาชิกกู้เงินในดอกเบี้ยที่ต่ำ

2. สร้างอาชีพเสริม

3.เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับสมาชิก

สมาชิกภายในหมู่บ้าน

58 คน

เริ่มต้นด้วยเงิน 1,000,000 บาทปัจจุบัน 1,600,000 บาท

 

5. กลุ่มทอผ้าไหม

1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

2. เพื่อเสริมรายได้จากการประกอบอาชีพหลัก

3. เพื่อความสามัคคีภายในกลุ่ม

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

23 คน

เริ่มต้นด้วยเงิน 690บาทปัจจุบัน

 บาท

 

 

 

 

 

 


           

ประวัติบ้านห้วยเจริญ  หมู่ที่ 21

                 เมื่อประมาณ  50  ปีมาแล้ว  เดิมบ้านห้วยเจริญก็ยังใช้ชื่อว่าบ้านประทุนเพราะยังไม่ได้แยกหมู่บ้านออกจากบ้านประทุน  ในเวลาต่อมาก็ได้แยกหมู่บ้านออกจากบ้านประทุน  ในขณะนั้นมี  2  หมู่บ้านที่เสนอชื่อขอแยกออกจากบ้านประทุน  คือ  บ้านโนนแดง  หมู่ที่  15  ตำบลแตล  และบ้านบ้านห้วยเจริญ  หมู่ที่  21 ตำบลแตล  และชื่อที่ชาวบ้านได้ตั้งคือชื่อว่าบ้าห้วย  ส่วนคำว่าเจริญนั้นกำนันมา  เจือจันทร์เป็นผู้เติมให้เนื่องจากตอนที่ทำหนังสือเอกสารเพื่อขอแยกหมู่  ก็ได้มีการจับปลาในหนองน้ำบ้านห้วยเจริญ  ซึ่งกำนันมา  เจือจันทร์ก็ได้ลงไปจับด้วยและจับได้ปลามากมายจึงเห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ  จึงเติมคำว่าเจริญต่อท้ายคำว่าห้วย  แล้วก็ส่งหนังสือเพื่อขอแยกหมู่ไปที่อำเภอบ้านห้วยจึงได้ชื่อบ้านห้วยเจริญตั้งแต่วันที่  15  เมษายน  2531  และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายเปลี่ยน  พิมพ์จันทร์  คนที่สองคือนายประหยัด  มั่นยืน  คนที่สาม  นายสงวน  มั่นยืน  คนที่สี่นายสงวน  มั่นยืน  คนที่ห้า คือ นายเชิญ   มีแก้ว  และคนที่หก คือนายสงวน   มั่นยืน  ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  2  สมัย  และได้ปกครองหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน 

ในปี  พ.ศ.2535  ก็ได้รับโครงการชลประทานขนาดเล็ก  ทิศเหนือหมู่บ้านเพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำในการอุปโภคบริโภค  และทำการเกษตร  ต่อมาในปี  พ.ศ.2536  ก็ได้รับโครงการทำถนนลูกรังรอบหมู่บ้าน 

ปี  พ.ศ.2537  ได้มีการสร้างศาลาประชาคมประจำหมู่บ้านโดยเงินที่นำมาสร้างมาได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคีที่มาจากกรุงเทพฯ  เงินที่ได้จากการทอดผ้าป่าทั้งหมดก็นำมาจัดซื้อวัสดุเพื่อสร้างศาลา 

ต่อมาในปี  พ.ศ.2539  ก็ได้สร้างประปาประจำหมู่บ้าน  โดยเงินที่ได้ก็นำมาจากการเก็บรวบรวมเงินจากชาวบ้านทุกหลังคา  และเงินจากการทอดผ้าป่าจากกรุงเทพฯ  และมีการสร้างถนนหินคลุกรอบหมู่บ้าน  โดยมี  อบต.เป็นผู้เสนอโครงการ  ปี  พ.ศ.2542  ได้มีการสร้างถนนลาดยางระยะทางประมาณ  2  กิโลเมตร ปี 2544  ทางองค์การโทรศัพท์ได้นำโทรศัพท์มาติดตั้งเพื่อให้ชาวบ้านไดรับความสะดวกสบาย  ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือนายสงวน  มั่นยืน

 

กลุ่มธนาคารข้าวเปลือก

       เมื่อประมาณปี  วันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ.2526  เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้มีกระแสรับสั่งให้กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  จัดตั้งกลุ่มธนาคารข้าวเปลือกขึ้น  ในตอนนั้นนายสุบรรณ  มั่นยืน  เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประทุน  หมู่ที่ 4  ซึ่งในตอนนั้นบ้านห้วยเจริญยังใช้ชื่อบ้านประทุน  เพราะยังไม่มีการแยกหมู่  ได้จัดตั้งกลุ่มธนาคารข้าวเปลือกขึ้น  ครั้งแรกสมาชิกนำข้าวเปลือกมาฝากคนละ  1  ปี๊บ  ได้จำนวนข้าวเปลือก  ประมาณ  20  ถัง  ต่อมาได้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ  และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด  35  ครัวเรือนและเพิ่มจำนวนข้าวเปลือกอีกเป็นคนละ  4  ถัง  รวมเป็น  140  ถัง  ปัจจุบันมีข้าวเปลือก  จำนวน  1,695  ถัง

รายชื่อคณะกรรมการธนาคารข้าวเปลือก

         1.  นายสงวน  มั่นยืน                        ประธาน

                2.  นายกล้า  มั่นยืน                            กรรมการ

                3.  นายประยงค์  มั่นยืน                    กรรมการ

                4.  นายพรม  บุญยง                           กรรมการ

               5.  นายราเมศ  มั่นยืน                        กรรมการ

               6.  นายเทียม  มณีรัตน์                       กรรมการ

                7.  นายพร้อม  มั่นยืน                        กรรมการ

                8.  นายฉลอง  อุส่าห์ดี                       กรรมการ

                9.  นายพจนา  สามีราย                      กรรมการ

ร้านค้าชุมชน

                ร้านค้าชุมชนบ้านห้วยเจริญจัดตั้งเมื่อวันที่  1  กุมภาพันธ์  2544  จากงบประมาณมิยาซาวา  เป็นเงิน  100,000  บาท  แบ่งเป็น  2  กลุ่ม  กลุ่มละ  50,000  บาท  เงินสมทบจากสมาชิกอีกคนละ  300  บาท  ในจำนวนสมาชิก  69  คน  เป็นเงิน  20,700  บาท  และจ่ายคืนให้กองทุนมิยาซาวาปีละ  10,000  บาท  กำหนดระยะเวลา  5  ปี  มีการปันผลให้สมาชิกร้อยละ  5  ยอดปรงซื้อปีละ  540,000  บาท  หักค่าใช้จ่ายแล้วยอดเงินคงเหลือ  53,000  บาท  ปันผลให้กับสมาชิก  และเสียภาษีอากรให้กรรมสรรพากร  อำเภอศีขรภูมิ  ปีละ  1,000  บาท  จ่ายเป็น2  งวด  งวดละ  500  บาท

 

 


ประวัติบ้านแตล  หมู่ 22

                 บ้านแตลหมู่22  แยกจากบ้านแตลหมู่ 1  เมื่อปี  พ.ศ.2545 

มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด                      157        ครัวเรือน

มีประชากรทั้งสิ้น                               580         คน

                ชาย                              285        คน

                หญิง                            295       คนดพ

ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนางเยาวนา  โพธิสาร   คนที่ สอง  คือนายวัลลภ โพธิสาร ปกครองถึงปัจจุบัน

สมาชิก  อบต.  คือนายสุเมธ    บุราคา และ  นายมานิจ    เจือจันทร์

                ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  รองลงมาคืออาชีพ  รับราชการ  ค้าขาย  และธุรกิจส่วนตัว

                แบ่งการปกครองเป็นเขต  ทั้งหมด  8  เขต  ประกอบไปด้วย

เขต  1  อุดมศักดิ์พัฒนา

เขต  2  ธาราพิรุณใต้

เขต  3  สระปูนสามัคคี

เขต  4  ศรีจอมพล

เขต  5  กมลเมฆา

เขต  6  ประชาสามัคคี

เขต  7  คีรีนคร

เขต  8  อมรเมืองใหม่

                ซึ่งแต่ละเขตจะมีหัวหน้าเขตเป็นผู้ประสานงาน  มีกลุ่มอาชีพคือกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม  กลุ่มร้านค้าชุมชน  และกลุ่มเลี้ยงโค

                มีถนนสายหลัก  ศีขรภูมิ – จอมพระ  ผ่านใจกลางหมู่บ้านมีถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้า  ไฟฟ้า  ประปา  วัด  โรงเรียน  มีการประชุมประชาชนอย่างน้อยปีละ  4  ครั้ง  หรือเมื่อมีเรื่องเร่งด่วนเพื่อหาผลสรุป  และแนวทางแก้ไขปัญหาในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

 

กลุ่มเลี้ยงโค

                 จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่  29  กรกฎาคม  2546  มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด  13  คน  ดังนี้

                1.  นายสายทอง  เติมงาม                  ประธาน

                2.  นายวาสนา  เกาะจันทึก               รองประธาน

                3.  นายอุทัย  เจือจันทร์                      เลขานุการ

                4.  นางแก้วมณี  เจือจันทร์                ประชาสัมพันธ์

                5.  นางสังวาลย์  พรหมบุตร             การตลาด

                6.  นางศิริพร  เจือจันทร์                   เหรัญญิก

                7.  นางวิจิต  พิมพ์จันทร์                   กรรมการ

                8.  นางจันที  พรหมขันธ์                  กรรมการ

                9.  นายประดิษฐ์  เพชรแหน            กรรมการ

                10.  นายวัลลภ  โพธิสาร                   ที่ปรึกษา

                11.  นายประดิษฐ์  สุขสวัสดิ์            กรรมการ

                12.  นายแดง  เจือจันทร์                    กรรมการ

                13.  นายสมชาติ  สิงหล                    ที่ปรึกษา

 

การดำเนินงานของกลุ่ม

                1.  ทางกลุ่มได้จัดหาแม่โคให้กับสมาชิกเลี้ยงรายละ  1  ตัว

                2.  สมาชิกได้ลูกวัวตัวที่  1  ซึ่งลูกจะต้องเป็นของกลุ่มก่อนเพื่อที่จะจัดสรรให้กับสมาชิกที่ยังไม่มี  ส่วนที่เหลือจะนำไปจำหน่ายเพื่อนำเงินฝากเข้าบัญชีของกลุ่มไว้

                3.  ลูกวัวตัวที่  2  สมาชิกจะต้องนำเงินไปบำรุงกลุ่ม  100  บาท  ส่วนตัวต่อๆไป  จะต้องบำรุงกลุ่มตัวละ  500  บาท  ลูกวัวก็จะเป็นของสมาชิกที่เลี้ยง

                4.  กรณีที่แม่วัวสูญหาย  หรือเจ็บป่วย  หรือเป็นหมันสมาชิกจะต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบ  เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขต่อไป

                5.  กรณีที่สมาชิกกระทำการใดๆโดยประมาทที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  สมาชิกชดใช้ค่าเสียหายตามความเหมาะสมตามดุลยพินิจของกรรมการ

                6.  จัดให้มีการประชุมกลุ่มอย่างน้อยปีละ  4  ครั้ง

                การดูแลการเงินของกลุ่ม  บัญชีกลุ่มเลี้ยงโค  ธนาคาร  ธกส.  ผู้ที่มีสิทธิ์เบิกจ่ายเงินของกลุ่ม  ทางกลุ่มมีมติแต่งตั้งผู้ที่เบิกจ่ายเงิน  5  ท่าน  ดังนี้

                1.  นายสายทอง  เติมงาม

                 2.  นายอุทัย  เจือจันทร์

                 3.  นางศิริพร  เจือจันทร์

                ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนงบประมาณโดย

-  องค์การบริหารส่วนตำบลแตล

                -  ศูนย์ปศุสัตว์  เขต  3  สุรินทร์

                -  ศูนย์ถ่ายทอกเทคโนโลยี  อบต.แตล

 

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านแตล

                 กลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม  จัดตั้งกลุ่มเมื่อปี  พ.ศ.2545  เนื่องจากกเล็งเห็นความสำคัญของผ้าไหมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์  ส่วนมากจะมีการจำหน่ายเป็นผืน  ทางกลุ่มจึงได้รวมกลุ่มเพื่อที่จะแปรรูปให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อจะได้จำหน่ายง่ายขึ้น  ราคาตั้งแต่  10  บาทขึ้นไป  การจัดตั้งกลุ่มครั้งแรกมีสมาชิก  53  คน  ปัจจุบันมีสมาชิก  29  คน  ทางกลุ่มได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด  10,000  บาท  จากหน่วยงานส่งเสริมอาชีพ  20,000  บาท  ได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาจากพัฒนาชุมชน  อำเภอศีขรภูมิ  มีคณะกรรมการดำเนินงานในรูปคณะกรรมการดังนี้

                                1.  นางสุทา  เจือจันทร์                      ประธาน

                                2.  นางมยุรี  สมานทอง                    รองประธาน

                                3.  นางสุมานี  พิมพ์จันทร์               เหรัญญิก

                                4.  นางอรอนงค์  ศรีวิเศษ                 เลขานุการ

                                5.  นางสาวธิดารัตน์  เจือจันทร์       การตลาด

                                6.  นายสุรทิน  สมาทอง                    ประชาสัมพันธ์

                ในปี  2546  ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารใหม่  โดยมีประธานและผู้ปฏิบัติ  ดังนี้

                                1.  นางเยาวนา  โพธิสาร                  ประธาน

                                2.  นางมยุรี  สมานทอง                    รองประธาน

                                3.  นางอรอนงค์  ศรีวิเศษ                 เลขานุการ

                                4.  นางสุมานี  พิมพ์จันทร์               เหรัญญิก

                                5.  นางปิยาณี  พิมพ์จันทร์                เหรัญญิก

                                6.  นายสุรทิน  สมานทอง                                ประชาสัมพันธ์

 วัตถุประสงค์

                เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนในระดับหม฿บ้านและท้องถิ่นมีรายได้เสริม  และนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปให้มีคุณค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้หลากหลาย  ส่งเสริมโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์  หนึ่งตำบลในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน  เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน  และเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและชุมชน

การดำเนินกิจกรรม

                เมื่อสมาชิกผลิตได้แล้วก็จะนำไปจำหน่ายที่กลุ่ม  ผลกำไรส่วนหนึ่งทางกลุ่มจะนำมาปันผลกำไรตามจำนวนกระเป๋าที่จำหน่ายได้  อีกส่วนหนึ่งก็จะหักเข้ากลุ่มเพื่อที่จะเป็นกองทุนในการหมุนเวียนเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์

 ที่ปรึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

                1.  พัฒนาชุมชน  อำเภอศีขรภูมิ 

                2.  องค์การบริหารส่วนตำบลแตล  สนับสนุนงบประมาณ

                3.  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  สนับสนุนงบประมาณ

                4.  กลุ่มส่งเสริมอาชีพ      

                5.  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้นำชุมชน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 


 

 

 

 


 


 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติบ้านอาวุธ

 

                บ้านอาวุธเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งโดยนายแดง  สีดา  ในปี  พ.ศ.2437  สาเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านอาวุธนั้นสืบเนื่องมาจาก  ในครั้งนั้นชาวบ้านที่รวมตัวกันก่อตั้งหมู่บ้านมีอาชีพตีเหล็กเพื่อใช้เป็นอาวุธ  เครื่องมือเพื่อใช้ในการกสิกรรม  เช่น  มีด  ดาบ  จอบ  เสียมชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านอาวุธตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หลักฐานที่พอจะเห็นได้ในปัจจุบันคือ  สระน้ำที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านซึ่งเป็นสระน้ำทีเก่าแก่ที่เลาสืบต่อกันมา  และจากการก่อตั้งหมู่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำหมู่บ้าน  ดังนี้

                1.  นางแดง  สีดา                                ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2437  -  ปี  พ.ศ.2460

                2.  นายจุ่น  ร่อนทอง         ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2460  -  ปี  พ.ศ.2472

                3.  นายสูน  คำมี                                 ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2472  -  ปี  พ.ศ.2478

                4.  นายอาจ  คล้ายคลึง       ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2478  -  ปี  พ.ศ.2499

                5.  นายเม้า  เอี่ยมสะอาด ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2499  -  ปี  พ.ศ.2503

                6.  นายเปลื้อง  ศิริทรัพย์   ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2503  -  ปี  พ.ศ.2518

                7.  นายประสงค์  ผมน้อย                 ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2518  -  ปี  พ.ศ.2524

                8.  นายบุญจันทร์  สีดา      ดำรงตำแหน่งเมื่อปี  พ.ศ.2524  -  ปี  พ.ศ.2544

                9.  นายยืนยง  สีดา             เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

 

กลุ่มเลี้ยงโค

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกภายในกลุ่ม

                2.  เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                3.  เพื่อเน้นให้สมาชิกมีความรับผิดชอบ

                4.  เพื่อให้สมาชิกมีความสามัคคี  เพราะเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม

 

รายชื่อสมาชิก

                1.  นายยืนยง  สีดา                                                             6.  นายสวัสดิ์  บุญยงค์     

                2.  นายสุเทพ  สมงาม                                                       7.  นายประสิทธิ์  แก่นเกษ

                3.  นายมูล  สีดา                                                                  8.  นายใหญ่  สมงาม

                4.  นายสุณภา  จ่าเพ็ง                                                        9.  นางสุปราณี  สีดา

                5.  นายศรศึก  สืบเพ็ง                                                        10.  นางทองพูน  สีดา

                               

 

กลุ่มทอผ้าไหม

 

หลักการและเหตุผล

                จากนโยบายของรัฐบาลการปฏิรูประบบราชการและการกระจายอำนาจ  ทำให้ประชากรระดับรากหญ้ามีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพตามความถนัด  ความสนใจ  และตามทรัพยากรที่มีอยู่  ซึ่งแต่ละชุมชนได้สร้างความมั่นคงให้กับกลุ่ม  สร้างความเจริญให้กับชุมชน

                กลุ่มแม่บ้านอาวุธเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันประกอบอาชีพหลังฤดูการทำนา  ด้วยกาทอผ้าไหม  สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี  ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  แต่วัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้าไหมมีจำนวนจำกัด  งบประมาณในการลงทุนมีไม่พอกับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

 

วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อเป็นการเพิ่มรายไก้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม

                2.  เพื่อให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                3.  เพื่อลดการว่างงานของคนในชุมชน

                4.  เพื่ออนุรักษ์การทอผ้าไหมให้คงอยู่

 

เป้าหมาย

                1.  กลุ่มแม่บ้านอาวุธ

                2.  บุคคลที่มีความสนใจภายในหมู่บ้าน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1.  สมาชิกภายในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น

                2.  ลดอัตราการว่างงานองคนในชุมชน

                3.  ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง

                4.  เพื่อให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อคณะกรรมการ

1.  นางคำมูล  สีดา                             ประธานกลุ่ม

                2.  นางสมจิตร  เจือจันทร์(1)           รองประธน

                3.  นางสร้อยทอง  ศรีแก้ว                เลขานุการ

4.  นางสำอาง  เอี่ยมสะอาด             เหรัญญิก

                5.  นางสุภาวดี  แก้วสุข                     ประชาสัมพันธ์และการตลาด

                6.  นางสงวน  พิมพ์จันทร์                                กรรมการ

7.  นางบัวทอง  แก้วบุตรดี                กรรมการ

                8.  นางหอมหวล  คงดี                      กรรมการ

                9.  นางสมร  เจือจันทร์                     กรรมการ

                10.  นางสีดา  สีดา                             กรรมการ

                11.  นางสวัสดิ์  แสงนวล                                 กรรมการ

                12.  นางนฤมล  บุญเหมาะ              กรรมการ

                13.  นางคำกอง  ศรีดา                       กรรมการ

                14.  นางเปลี่ยน  ทองลาด                 กรรมการ

                15.  นางเครือจิต  ฉิมมาลี                                 กรรมการ

                16.  นางทองพูน  ฉิมมาลี                                กรรมการ

                17.  นางจาก  เจือจันทร์                    กรรมการ

                18.  นางสมจิต  เจือจันทร์(2)           กรรมการ

               

 

 

 

 

 

 

 

 

view